• ปรัชญาธรรมนำทาง •
๏ สำหรับผู้เปิดใจกว้างพอที่จะรับฟังรับรู้เรื่องราวในอีกมุมมองหนึ่ง เพื่อนำไปประยุกต์ในแง่ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตสืบไป
1:2:3:4:5:6:7:8:9:10
๏ เบญจศีล เบญจธรรม

          คู่ที่ ๑ การไม่ฆ่า และการมีเมตตา หมายความว่า ไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทุกชนิดด้วยประการใด ๆ แต่กลับมีเมต ตา ปรารถนาให้มนุษย์และัสัตว์เหล่านั้น มีความสุข ผู้ปฏิบัติเช่นนี้ ไม่มีเวรไม่มีภัยกับใคร มีความปลอดภัย และได้รับเมตตาตอบ แทน
          คู่ที่ ๒ การไม่ลักทรัพย์ และการสละทรัพย์ช่วยเหลือผู้อื่น ผุ้ปฏิบัติตามศีลและธรรมคู่นี้เป็นผู้ไม่มีความผิด ไม่ถูกจับกุมคุมขัง ไม่ถูกระแวงและรังเกียจจากผู้อื่น เป็นผู้ที่คนอื่นไว้เนื้อเชื่อใจ ได้รับเกียรติ และการให้สิ่งต่าง ๆ เป็นการตอบแทน เพราะผู้ให้ย่อมได้ รับการให้ตอบ
          คู่ที่ ๓ การไม่ประพฤติผิดในกาม และความยินดีด้วยคู่ครองของตน ผู้ปฏิบัติตามศีลธรรมคู่นี้ ไม่มีเวรภัยกับใคร ไม่มีศัตรู ไม่ถูกระแวงจากเพื่อนบ้าน มีความสงบสุขในครอบครัว มีบุตรธิดาอยู่ในโอวาท
          คู่ที่ ๔ การไม่พูดเท็จ และการมีสัจจะ ผู้ปฏิบัติตามศีลและธรรมคู่นี้ย่อมได้รับความเชื่อถือ ได้รับความนิยมนับถือ ไม่มีใครมา พูดหลอกลวงให้เสียประโยชน์ใด ๆ
          คู่ที่ ๕ การไม่ดื่มสุราเมรัย และการมีสติไม่ประมาท ผู้ปฏิบัติตามศีล และธรรมคู่นี้เป็นผู้มีสุขภาพดี ไม่เสียชื่อเสียง ได้รับความยกย่องนับถือ ปลอดภัยจากอันตรายต่าง ๆ อันเกิดจากความขาดสติของตน มีความสงบราบรื่นในครอบครัว

 
๏ กุศลกรรมบถ ๑๐
          กายกรรม ๓ ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ การไม่ลักทรัพย์ การไม่ประพฤติผิดในกาม มีคำอธิบายอย่างเดียวกับในเบญจศีล ผู้ปฏิบัติ ได้รับผลดีดังกล่าวมาแล้ว
          วจีกรรม ๔ ได้แก่ การไม่พูดเท็จ การไม่พูดส่อเสียด การไม่พูดหยาบ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ผู้ปฏิบัติได้ตามนี้ เป็นผู้ได้รับความ เคารพนับถืออย่างสูง ไม่มีใครกล่าวร้ายหรือด่าว่า ไม่ต้องเป็นคดีในศาลเพราะการหมิ่นประมาท เป็นผู้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ทุกคนเชื่อ ถือและปฏิบัติตาม
          มโนกรรม ๓ ได้แก่ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น และเห็นชอบตามคลองธรรม ผู้ปฏิบัติได้ตามนี้เป็นผู้มีจิต ใจสงบ ไม่ดิ้นรนฟุ้งซ่านไปภายนอก มีปัญญาพิจารณาเห็นทางที่ถูกที่ควร ช่วยควบคุมการปฏิบัติทางกายและวาจา ให้ตรงทาง และเคร่งครัดยิ่งขึ้น ช่วยให้ชีวิตมีความสงบสุขเป็นอย่างดี
 
๏ อธิษฐานธรรม ๔
          อธิษฐานธรรม แปลว่า ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ หมายความว่า ทุกคนควรมีคุณธรรมประจำใจ ผู้ใดมีคุณธรรมนี้ประจำใจอยู่ เสมอแล้ว ผู้นั้นจะมีแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อม มี ๔ ประการ คือ

๑.ปัญญา
          ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ หมายถึงรอบรู้สิ่งที่ควรรู้ สิ่งที่ควรรู้มี ๒ ประเภท คือ สิ่งที่ควรรู้ทางโลก และสิ่งที่ควรรู้ทางธรรม
          สิ่งที่ควรรู้ทางโลก
          ได้แก่ วิชาการทั้งหลายทั้งด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีสอนอยู่ในสถาบันการศึกษาโดยทั่วไป ความรอบรู้จะเกิดขึ้นได้ ด้วยการหมั่นประกอบให้เกิดขึ้น ไม่ใช่เกิดขึ้นเองลอย ๆ ผู้ต้องการความรู้ต้องลงมือศึกษาเล่าเรียนด้วยตนเอง ครูอาจารย์เป็นเพียง ผู้แนะนำแนวทางที่ถูกต้องเท่านั้น เมื่อตั้งใจศึกษาจนสำเร็จตามระดับต่าง ๆ ที่สถาบันการศึกษากำหนดไว้แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นปัญญา ชนคนมีความรู้ สามารถทำงานได้เป็นผลดี สร้างชีวิตให้เจริญรุ่งเรืองทั้งมีส่วนในการพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าไปด้วย
          สิ่งที่ควรรู้ทางธรรม
          ได้แก่ ความชั่ว ความดี และอุบายวิธีเพื่อเว้นความชั่ว กระทำแต่ความดี ความชั่ว ได้แก่ บาป หรืออกุศลกรรมเป็นสิ่งมีแต่ โทษ ไม่มีประโยชน์ เช่น การไม่มีศีลหรือการละเมิดศีล การไม่ปฏิบัติธรรม ไม่มีคุณธรรมประจำใจ ลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุข เป็นต้น ความดี ได้แก่ บุญ หรือกุศลกรรม เป็นสิ่งมีประโยชน์ เช่น การมีศีลธรรม เว้นสิ่งที่ควรเว้น ปฏิบัติสิ่งที่ควรปฏิบัติ เป็นต้น สำหรับ อุบายวิธีเพื่อเว้นความชั่ว กระทำแต่ความดีนั้น ต้องอาศัยความรู้จักตน และความรู้จักธรรม คือ รู้ว่าตนเป็นผุ้มีจริต อัธยาศัย และุ อุปนิสัยอย่างไร ธรรมข้อใดเหมาะสมกับตน เช่น เป็นผู้มีอุปนิสัยโลภ อยากได้ของผุ้อื่น ต้องใช้ธรรมคือสันโดษ ความพอใจด้วย ของตน ทาน การให้จาคะ ความเสียสละเป็นเครื่องปราบปราม เป็นต้น อันเป็นแนวทางให้สามารถเว้นความชั่ว ปฏิบัติความดีได้ ความรอบรู้ในทางธรรมนี้ไม่ใช่ศึกษาให้รู้ตามตัวหนังสืออย่างเดียว แต่ต้องลงมือปฏิบัติด้วย จึงจะบังเกิดผลดีทั้งแก่ตนเองและ สังคม

๒.สัจจะ
          สัจจะ แปลว่า ความจริงใจ หมายความว่า ทำสิ่งใดทำให้ได้จริง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำหรือทำอย่างไม่ย่อหย่อนปล่อยปละละเลย สิ่งที่ทำนั้น ถึงจะยากเพียงใดก็พยายามทำให้สำเร็จ ไม่ท้อถอย ไม่เลิกเสียกลางคัน

๓.จาคะ
          จาคะ แปลว่า ความสละ ได้แก่ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ เมื่อตั้งใจจริงทำงานต้องสละทิ้งข้าศึกของความจริงใจ เช่น ความเกียจคร้าน ความเหนื่อยหน่าย ความท้อแท้ ความหดหู่ ความง่วงเหงาหาวนอน ฯลฯ ไปให้หมดสิ้น โดยใช้อุบายต่างๆ เช่นระลึกถึงความจริงใจอยู่เสมอ ปลุกใจให้เข้มแข็ง กล้าหาญ ร่าเริง เป็นการสร้างพลังจิตเพื่อต่อสู้ข้าศึกของความจริงใจนั้น การทำงานก็จะก้าวหน้าต่อไปด้วยความมั่นคงจนประสบความสำเร็จ

๔.อุปสมะ
          อุปสมะ แปลว่า ความสงบ หมายความว่า สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ ตามปกติจิตใจมักจะอ่อนไหวไปตามอารมณ์ เมื่อได้รับอารมณ์ที่น่าชอบใจ ก็ฟูขึ้น เมื่อได้รับอารมณ์ที่ไม่น่าชอบใจ ก็ฟุบลง ไม่สงบ ไม่แน่วแน่มั่นคง จิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์เช่นนั้นไม่มีพลัง ไม่สามารถควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิผล จิตที่สงบเท่านั้น มีพลัง สามารถควบคุมการทำงานให้มีประสิทธิผลได้ จึงจำเป็นต้องรักษาจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้หดหู่ ไม่ให้ดีใจหรือเสียใจเกินกว่า สมควร เมื่ออารมณ์อันเป็นข้าศึกแก่ความสงบเกิดขึ้น ต้องรู้จักข่มใจ บังคับใจให้คงที่ ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ รักษาใจให้สงบ ทำให้ใจมีพลัง สามารถควบคุมการทำงานให้เป็นผลดีได้
 
๏ อริยสัจ ๔
          อริยะสัจ แปลตามตัวอักษรได้ว่า ความจริงอันประเสริฐ (อริย = ประเสริฐ+สัจจะ = ความจริง)
          ความจริงอันประเสริฐ หมายความว่า เป็นความจริงที่ทำให้ผู้รู้แจ้งในอริยสัจนี้ เป็น ผู้ประเสริฐ เป็นความจริงที่ไม่เปลี่ยน ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น

๑.ทุกข์(กิจในทุกข์ คือ ปริญญา “การกำหนดรู้” จงรู้จักและเข้าใจ)
          ทุกข์ หมายถึง ความทุกข์ หรือสภาพที่ทนได้ยาก
          ทุกข์ แปลว่า แทนต่อความยาก ทุกข์นี้เป็นตัวปัญหา เป็นผลของ ทุกขสมุทัย(สมุทัย) ควรกำหนดรู้ว่าอะไรบ้างเป็นทุกข์ และเป็นทุกข์อย่างไร อันได้แก่ (ขันธ์ 5 ประกอบด้วยกองรูปธรรม และนามธรรมทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) หมายเป็นความได้ ๑๑ อย่าง คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย ทุกข์ที่มีตามธรรมชาติอีก ๘ อย่าง เป็นทุกข์จร(เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว) ได้แก่ ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความปรารถนาไม่สมหวัง

๒.ทุกขสมุทัย(สมุทัย)(กิจในสมุทัย คือ ปหานะ “การละ” จงรู้จักเหตุแห่งทุกข์นั้นแลหมายกำจัดเหตุทุกข์ให้สิ้น)
          ทุกขสมุทัย หรือ สมุทัย หมายถึง เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นสาเหตุของปัญหา
          ทุกขสมุทัย แปลว่า เหตุแห่งทุกข์ เรียกย่อๆ ว่า สมุทัย เป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์ ควรละหรือกำจัดให้สิ้น ได้แก่ ตัณหา แปลว่า ความอยากหรือความทะเยอทะยานอยาก ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มี 3 ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
          กามตัณหา คือ ความอยากในกาม(ความอยากได้ อยากมี) ได้แก่ ความอยากด้วยอำนาจกิเลสกาม(เป็นเหตุให้เกิดความใคร่ ได้แก่ ราคะ ความใคร่ กามฉันทะ ความพอใจในกาม) และความอยากในวัตถุกาม(สิ่งที่น่าใคร่ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ทางใจที่น่ารักใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ)
          ภวตัณหา คือ ความอยากเป็น(อยากที่เป็นอนาคต) ได้แก่ ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ เช่น อยากเป็นข้าราชการตำแหน่งต่างๆ อยากเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัดรายการ รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี ฯลฯ
          วิภวตัณหา คือ ความอยากไม่เป็น(อยากที่เป็นปัจจุบัน) เช่น เป็นอะไรอยู่แล้วอยากไม่เป็น อยากพ้นไป อยากลาออก เป็นต้น

๓.ทุกขนิโรธ(นิโรธ)(กิจในนิโรธ คือ สัจฉิกิริยา “การทำให้แจ้ง” การแก้ปัญหาเหตุแห่งทุกข์หรือบรรลุถึงซึ่งภาวะดับทุกข์)
          ทุกขนิโรธ หรือ นิโรธ หมายถึง ความดับทุกข์ ภาวะหมดปัญหา
          ทุกขนิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ เรียกย่อๆ ว่า นิโรธ
          เป็นผลของการปฏิบัติตามอริยมรรค ได้แก่ การดับ การกำจัด การสลัดทิ้งตัณหาให้หมดไป หรือการพ้นไปไม่ติดอยู่ใน ตัณหานั้น เมื่อหมดตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ซึ่งเป็นผลก็หมดไปด้วย เป็นการพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง การทำให้แจ้ง หรือการบรรลุ ซึ่งทุกข์ในไตรลักษณ์ (ติลกฺขณ แปลว่า สาม ลกฺขณ แปลว่า เครื่องทำสัญลักษณ์, เครื่องกำหนด, เครื่องบันทึก, เครื่องทำจุดสังเกต, ตราประทับ ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง") ได้แก่
          อนิจจัง - (ความไม่แน่นอน) อาการความเป็นไปของขันธ์ ๕- อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์ (อนิจจลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน)
          ทุกขัง - (ขันธ์ 5 ทั้งหมด) อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์ (ทุกขลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 เป็นทุกข์)
          อนัตตา - (สิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนอย่างแท้จริง) อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิง ไม่มีอำนาจกำลังอะไร ต้องอาศัยพึ่งพิงสิ่งอื่นๆ มากมายจึงมีขึ้นได้ (อนัตตลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่ตัวตน ไร้อำนาจ ไม่มีเนื้อแท้แต่อย่างใด บังคับให้ไม่หมดไปไม่สิ้นไปไม่ได้)

๔.ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(มรรค)(กิจในมรรค คือ ภาวนา “การเจริญ” ฝึกฝนปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)
          ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค หมายถึง ทางดับทุกข์ หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อขจัดสาเหตุ แห่งปัญหา
          ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แปลว่า ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกย่อๆ ว่า มรรค (ถึงพร้อมด้วยไตรสิกขาใน ศีล สมาธิ ปัญญา โดยใช้ธรรมทั้งหลายด้วย มัชฌิมาปฏิปทา “ทางสายกลาง” หมายถึง ทางปฏิบัติที่ไม่สุดโต่งไปอย่างใดอย่างหนึ่ง) ซึ่งหมายถึง อริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ได้แก่
           ติดตามตอนต่อไป...
 
๏ ไตรสิกขา
           ติดตามตอนต่อไป...
 
๏ ไตรลักษณ์
           ติดตามตอนต่อไป...
 
๏ ปฏิจจสมุปบาท
           ติดตามตอนต่อไป...
 
๏ มงคลชีวิต
          ทรงแสดงไว้ในมงคลสูตร มี ๓๘ ประการ
          ๑.การไม่คบคนพาล           ๒๐.ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา
          ๒.การคบบัณฑิต           ๒๑.ความไม่ประมาท
          ๓.การบูชาคนที่ควรบูชา           ๒๒.ความเคารพ
          ๔.การอยู่ในถิ่นที่สมควร           ๒๓.ความอ่อนน้อมถ่อมตน
          ๕.การทำบุญไว้ในปางก่อน           ๒๔.ความสันโดษ
          ๖.การตั้งตนไว้ชอบ           ๒๕.ความกตัญญู
          ๗.ความเป็นผู้ฟังมาก           ๒๖.การฟังธรรมตามกาล
          ๘.ศิลปะ           ๒๗.ความอดทน
          ๙.วินัยที่ศึกษาดีแล้ว           ๒๘.ความเป็นผู้ว่าง่าย
          ๑๐.วาจาเป็นสุภาษิต           ๒๙.การเห็นสมณะ
          ๑๑.การบำรุงมารดาบิดา           ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล
          ๑๒.การสงเคราะห์ภรรยา           ๓๑.การฟังธรรมตามกาล
          ๑๓.การสงเคราะห์บุตร           ๓๒.ความอดทน
          ๑๔.การงานไม่อากูล           ๓๓.ความเป็นผู้ว่าง่าย
          ๑๕.การให้           ๓๔.การทำพระนิพพานให้แจ้ง
          ๑๖.การประพฤติธรรม           ๓๕.จิตไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม
          ๑๗.การสงเคราะห์ญาติ           ๓๖.จิตไม่เศร้าโศก
          ๑๘.การงานไม่มีโทษ           ๓๗.จิตไม่มีธุลี
          ๑๙.การงดเว้นจากบาป           ๓๘.จิตเกษม
 
๏ มงคลที่ ๓๕ จิตไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม
          ธรรมชาติของจิต
          จิตของคนทุกคนมีสภาพผ่องใสอยู่ตามธรรมชาติ แต่บางครั้งบางคราวเศร้าหมองไป เพราะมีอุปกิเลสเข้ามาเกลือกกลั้ว อุปกิเลส มี ๑๖ ประการ คือ
                    ๑.อภิชฌาวิสมโลภะ ความอยากได้รุนแรงถึงขั้นเพ่งเล็ง
                    ๒.พยาบาท ความคิดร้าย
                    ๓.โกธะ ความโกรธ
                    ๔.อุปนาหะ ความผูกโกรธ
                    ๕.มักขะ ความลบหลู่คุณผู้อื่น
                    ๖.ปลาสะ ความตีเสมอ
                    ๗.อิสสา ความริษยา
                    ๘.มัจฉริยะ ความตระหนี่
                    ๙.มายา ความเจ้าเล่ห์
                    ๑๐.สาเถยยะ ความโอ้อวด
                    ๑๑.ถัมภะ ความหัวดื้อ
                    ๑๒.สารัมภะ ความแข่งดี
                    ๑๓.มานะ ความถือตัว
                    ๑๔.อติมานะ ความดูหมิ่นผู้อื่น
                    ๑๕.มทะ ความมัวเมา
                    ๑๖.ปมาทะ ความเลินเล่อ
          เมื่อจิตถูกอุปกิเลสเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำ จะเป็นจิตที่เศร้าหมอง หรือเป็นจิตที่ไม่ดี ไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง ไม่รู้ทางดำเนินที่ถูกที่ควร จึงหลงดำเนินผิดทาง คือ ทางที่ไปสู่ความทุกข์
          ถ้าสามารถป้องกันไม่ให้อุปกิเลสเข้ามาครอบงำจิต ให้จิตคงสภาพตามธรรมชาติ หรือสามารถกำจัดอุปกิเลสให้หมดสิ้นไป จิตก็ผ่องใส เป็นจิตที่ดี รู้ทางที่ถูกต้อง ไม่หลงทาง ดำเนินตามทางที่นำไปสู่ความสุข

          •การระวังรักษาจิต
          การระวังรักษาจิตไม่ให้อุปกิเลสเข้ามาเกลือกกลั้ว ต้องมีกุศลธรรมเป็นเครื่องควบคุม กุศลธรรมที่สามารถรักษาจิตไว้เป็น อย่างดี คือ สติ และสัมปชัญญะ
          สติ คือ ความระลึกได้ ได้แก่ ความไม่ลืมตัว ไม่ลืมหน้าที่ของตนที่จะต้องทำ ควบคุมจิตไม่ให้ไหลไปตามอารมณ์ ที่เข้่ามา ทางประสาทสัมผัส หรือ ทวาร ๖
          สัมปชัญญะ คือความรู้ตัวและรู้ทั่วถึงอารมณ์ หรือสิ่งที่ได้ประสบตามความเป็นจริงว่า เป็นคุณ หรือเป็นโทษ

          •อารมณ์
          สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสหรือทวาร ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่า อารมณ์ กล่าวคือ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัสทางกาย ใจทราบอารมณ์ทางใจ อารมณ์มี ๒ อย่าง คือ อิฏฐารมณ์ และ อนิฏฐารมณ์
                    อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ถูกใจ ที่ชอบใจ ที่อยากได้ ที่ปรารถนา ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
                    อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ขัดใจ ไม่ชอบใจ ไม่อยากได้ ไม่ปรารถนา ได้แก่ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์
          สามัญชนทั่วไปได้อารมณ์ที่น่าปรารถนาย่อมดีใจ ตื่นเต้น อยากได้อีก ที่ได้แล้ว ไม่อยากให้เสียไป เมื่อไม่สมปรารถนา กลับเสียใจเป็นทุกข์ ได้อารมณ์ที่ไม่ปรารถนา ย่อมเสียใจ อยากพ้นไปเสียเมื่อไม่สมปรารถนา ก็ยิ่งเพิ่มทุกข์

          •โลกธรรม
          ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ เรียกว่า โลกธรรม แปลว่า ธรรมที่ครอบงำทุกคนในโลก มีอยู่คู่กับ โลก คนที่เกิดจากโลกธรรมนั้น มีแตกต่างกัน ๒ แบบ ตามประเภทของบุคคล คือ พระอริยะ และปุถุชน
          พระอริยะรู้เท่าทันโลกธรรมว่า ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความปรวนแปร เป็นธรรมดา ท่านจึงไม่ยินดีในอิฏฐารมณ์ ไม่ยินร้ายใน อนิฏฐารมณ์ จิตของท่านจึงสงบ เป็นปกติ ไม่เดือดร้อนเพราะโลกธรรมใด ๆ