พิพิธภัณฑ์ดินไทย พ่อหลวงกับงานพัฒนาที่ดิน สมเด็จพระเทพกับงานพัฒนาที่ดิน
แผนผังพิพิธภัณฑ์ ปุ๋ยสูตรพระราชทาน Facebook

พิพิธภัณฑ์ดิน
พิพิธภัณฑ์ ดิน
<Soil Museum Ver.5.1>
พิพิธภัณฑ์ดิน
Soil Museum
กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02 562 5138 www.ldd.go.th

          กรมพัฒนาที่ดิน เป็นหน่วยงานหนึ่ง ในสังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้านการศึกษา สำรวจ จำแนก วิเคราะห์วิจัยดินและที่ดิน ติดตามสถานการณ์การใช้ที่ดิน เพื่อกำหนดนโยบาย วางแผนการใช้ที่ดิน และพัฒนาที่ดิน รวมถึง การให้บริการด้านการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และให้คำแนะนำ เกี่ยวกับ ดิน น้ำ พืช ปุ๋ย และ อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาที่ดิน ตลอดจนถ่ายทอดผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และให้บริการด้านการพัฒนาที่ดิน แก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรทั่วไป
          พิพิธภัณฑ์ดินแห่งนี้ กรมพัฒนาที่ดินได้จัดสร้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็น สถานที่สำหรับศึกษาเรียนรู้ เรื่องราว เกี่ยวกับทรัพยากรดิน การสำรวจ จำแนกดิน สภาพปัญหาและการจัดการดิน ของประเทศไทย เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2549 โดยกรมพัฒนาที่ดิน ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด พร้อมทั้งลงพระนามาภิไธย บนแผ่นดินเหนียว ไว้เป็นที่ระลึก ปัจจุบันติดตั้งอยู่ ณ บริเวณทางเข้าชม พิพิธภัณฑ์
          ภายในพิพิธภัณฑ์ มีการจัดแสดงประวัติการก่อตั้งกรมพัฒนาที่ดิน เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการสำรวจดิน สัณฐานของดินบาง ประการ ตัวอย่างหน้าตัดดินจำลอง ของชุดดินและกลุ่มชุดดินที่พบในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย และลักษณะของดินที่มีปัญหา ต่อการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พร้อมทั้งแนวทางการปรับปรุงแก้ไข นอกจากนี้ ยังมีระบบฐานข้อมูล แสดงคำอธิบายลักษณะและสมบัติของดิน โปรแกรมดินไทย และโปรแกรมแนะนำการใช้ปุ๋ยรายแปลง รวมถึงข้อมูลทางวิชาารด้านอื่นๆ ที่ได้ทำการบันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับให้ผู้ที่ สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง

การสำรวจจำแนกดิน
          การศึกษาสำรวจดินในประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2478 โดยนักวิทยาศาสตร์ทางดินชาวอเมริกัน มีการศึกษา และจัดทำแผนที่ดินทั่วประเทศฉบับแรก ในขนาดมาตราส่วน 1:2,500,000 เมื่อปี พ.ศ.2503 โดยใช้ระบบการสำรวจและจำแนกดิน ตามแบบของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (ระบบ USDA 1938) ต่อมาจึงได้มี การสำรวจดินในระดับจังหวัด โดยเริ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ.2506 ได้มีการจัดตั้งกรมพัฒนาที่ดินขึ้น นับแต่นั้นมา งานสำรวจจำแนกดินของประเทศไทย ก็ได้รับการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง
          ปัจจุบันประเทศไทยทำการสำรวจจำแนกดิน ตามระบบอนุกรมวิธานดิน (Soil Taxonomy) ที่พัฒนาโดยกระทรวงเกษตรประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการแบ่งขั้นการจำแนกดิน ออกเป็น 6 ขั้น ด้วยกัน ได้แก่ อันดับ อันดับย่อย กลุ่มดินใหญ่ กลุ่มดินย่อย วงศ์ดิน และชุดดิน ตามลำดับ           งานสำรวจจำแนกดินนั้น มีกระบวนการทำงานทั้งภายในและภายนอกสถานที่ เริ่มจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น การตวจสอบลักษณะ และสมบัติของดินในภาคสนาม การทำคำบรรยายหน้าตัดดิน การจัดทำแผนที่ต้นร่างแสดงขอบเขตชนิดของดิน การตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่ดิน จนถึงการจัดพิมพ์แผนที่ และรายงานการสำรวจดินในลำดับ สุดท้าย

ทรัพยากรดินของประเทศไทย
          ประเทศไทยตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างละติจูดที่ 5-20 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 97-105 องศาตะวันออก อยู่ในเขตร้อน มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย ภาคเหนือมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบระหว่างเขา และมีที่ราบบริเวณริมแม่น้ำสายใหญ่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ ประกอบด้วยพื้นที่ลุ่ม สลับกับที่ดอน ภาคกลางมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และลำน้ำสาขา มีพื้นที่สูง ภูเขา และเนินเขาอยู่บ้าง ตามของด้านทิศตะวันตกและตะวันออก ภาคใต้มี ลักษณะเป็นแผ่นดินที่ยื่นลงไปในทะเล ตอนกลางของภาคเป็นเทือกเขาสูง ทอดตัวในแนวยาวเหนือ-ใต้ ทำให้เกิดพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นแนวยาว และเกิดพื้นที่ลาดเอียงจากตอนกลางของภาค ไปสู่ชายฝั่งทะเลทั้ง สองด้าน
          ดินที่พบในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย อาจมีลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมที่ให้กำเนิดดิน ประกอบด้วยภูมิอากาศ สิ่งมีชีวิต ความสูงต่ำของภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด และระยะเวลาหรือพัฒนาการของดิน รวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ดินมีพัฒนาการ ซึ่งมีความมากน้อยต่างกันไปในแต่ละ แห่ง

หน้าตัดดิน
          โดยทั่วไปเมื่อเรายืนอยู่บนพื้นดินนั้น เราจะมองเห็นดินเป็นเพียงแผ่นดินหรือพื้นผิวที่มี 2 มิติ คือ มีความกว้างและความยาว แต่ หากว่าเราขุดดินลงไปจนเป็นหลุมขนาดใหญ่ จะเห็นว่าดินมีมิติที่ 3 คือ มีความลึกหรือความหนา และเมื่อมองตามความลึกลงไปตามแนวดิ่ง จะเห็นว่าดินนั้นมีการทับถมกันเป็นชั้น ๆ โดยที่แต่ละชั้นจะแสดงให้เห็นถึง ความแตกต่างของสิ่งที่มีอยู่ภายในดิน เช่น สีดิน เนื้อดิน ชนิดของวัตถุ หรือสิ่งที่ปะปนอยู่ในดิน เป็นต้น นักสำรวจดิน เรียกผิวด้านข้างของหลุมดิน ที่ตัดลงไปจากผิวหน้าดินตามแนวดิ่ง ซึ่งปรากฏให้เห็นชั้นต่าง ๆ ภายในดิน นี้ว่า "หน้าตัดดิน" (Soil Profile) และเรียกชั้นต่าง ๆ ในดิน ที่วางตัวขนานกับผิวหน้าดิน ว่า "ชั้นดิน" (Soil Horizon)
          เพื่อให้สามารถมองเห็นความแตกต่างของดิน ในแต่ละภูมิภาค ได้อย่างชัดเจน กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้จัดแสดงตัวอย่างหน้าตัด ดินจำลองที่พบในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ไว้ โดยพื้นที่ด้านบนเหนือขึ้นไปจากตัวอย่างหน้าตัดดิน ที่แสดงไว้ในแต่ละภาค จะมีแผนภาพ แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งหรือบริเวณที่พบดินนั้น กับสภาพ พื้นที่หรือภูมิสัณฐาน และชนิดวัตถุต้นกำเนิดที่เกี่ยวข้องกับดินนั้นๆ แสดงไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ชมเกิดความเข้าใจในแง่มุมของการเกิดดินชนิดต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น
          หน้าตัดดินจำลอง ที่นำมาจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ดินแห่งนี้ เป็นเพียงบางส่วนของดินที่พบในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่กรมพัฒนาที่ดิน ได้จัดจำแนกไว้ในระดับ ชุดดิน (Series) ซึ่งเป็น การจำแนกในชั้นต่ำสุดตามระบบอนุกรมวิธานดิน ปัจจุบัน มีชุดดินที่จัดตั้งไว้แล้ว มากกว่า 240 ชุดดิน

ตัวอย่างดินในภูมิภาคต่าง ๆ
          ดินที่พบในภาคใต้ส่วนใหญ่ เป็นดินที่มีการชะล้างสูง มักมีสีเหลืองหรือแดง และพบชั้นวัตถุต้นกำเนิดดินในระดับตื้น ความอุดม สมบูรณ์ของดินอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เนื่องจากสภาพอากาศที่ชื้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ดินมีศักยภาพทางการเกษตรต่ำถึงค่อนข้างต่ำ
          ดินที่พบในภาคกลางส่วนใหญ่ เป็นดินที่ราบลุ่ม มีศักยภาพทางการเกษตรค่อนข้างสูง ประกอบกับมีชลประทานที่ดี การใช้ ประโยชน์ที่ดินในภาคนี้จึงมีประสิทธิภาพมาก
          ดินในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นดินที่มีพัฒนาการไม่มากนัก ดินในบริเวณที่ราบ หรือค่อนข้างราบ เป็นดินที่มีศักยภาพทางการ เกษตรอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง แต่ในพื้นที่ที่มีความลาดชันมาก มักมีข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายและสูณเสียหน้าดินได้ง่าย
          ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่เป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรค่อนข้างต่ำ เนื่องจากพัฒนาการมาจากวัตถุต้น กำเนิดดิน พวกที่สลายตัวมาจากหินทรายหรือหินทรายแป้ง ทำให้เป็นดินที่มีเนื้อหยาบ ความอุดมสมบููรณ์ต่ำ อุ้มน้ำได้น้อย ดินมีโอกาสขาดแคลนน้ำได้ง่าย นอกจากนี้ยังมี ดินเค็ม ดินทราย ดินปนกรวดศิลาแลง ซึ่ง เป็นดินที่มีปัญหาในการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร



กลุ่มชุึดดิน 62 กลุ่ม
          ชุดดินต่างๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนั้น มักจะทำให้กิดปัญหาในการแจกแจงชนิดของดิน สำหรับเกษตรกรและบุคคลทั่วไปที่ไม่คุ้น เคยอยู่เสมอ กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้ทำการ จัดหมวกหมู่ดินขึ้นใหม่ โดยรวบรวมเอาชุดดินที่มีลักษณะ สมบัติ และศักยภาพของดิน ในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของพืชที่ปลูกที่คล้ายคลึงกัน มา ไว้ในกลุ่มเดียวกัน เรียกว่า กลุ่มชุดดิน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 62 กลุ่มชุดดิน
          กลุ่มชุดดินที่ 1-25 และกลุ่มชุดดินที่ 57-59 จัดเป็นกลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่ลุ่ม หมายถึง ดินที่เกิดอยู่ในบริเวณพื้นที่ต่ำ มีสภาพ พื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบ มักจะมีระดับน้ำใต้ดินตื้น มีน้ำท่วมขังที่ผิวดินในฤดูฝน ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการทำนา
          กลุ่มชุดดินที่ 26-56 เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่ดอน หรือบริเวณพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าดินที่ลุ่ม ไม่มีน้ำท่วมถึง ดินมีการระบายน้ำดี มักไม่ค่อยมีน้ำแช่ขังที่ผิวหน้าดิน สภาพพื้นที่อาจเป็นที่ราบ ที่ลาดเชิงเขา หรือเป็นลูกคลื่น ส่วนใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ ไม้ผล หรือไม้ยืนต้นอื่น ๆ กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ดินดอนในเขต ดินแห้ง และดินดอนในเขตดินชื้น
          กลุ่มชุดดินที่ 62 เป็นกลุ่มของพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนหรือพื้นที่ภูเขา ที่อยู่ในบริเวณที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ลักษณะ และสมบัติของดินเหล่านี้มีความไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดิน และพืชพรรณธรรมชาติ เป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเกษตร ควรอนุรักษ์ไว้เป็นพื้นที่ป่าไม้

ดินที่มีปัญหาในการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
          ดินที่มีปัญหาทางการเกษตร หมายถึง ดินที่มีสมบัติทางกายภาพและเคมี ไม่เหมาะสม หรือเหมาะสมน้อย สำหรับเพาะปลูก ทำ ให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้ตามปกติ ส่วนใหญ่เป็นดินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด ดินทรายจัด ดินปนกรวด และดินตื้น นอกจากนี้ยังรวมถึง พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง ซึ่งหากมีการ ใช้ประโยชน์ ทางการเกษตร อย่างไม่ระมัดระวัง จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ และสภาพแวดล้อม อย่างรุนแรง ในการใช้พื้นที่เหล่านี้ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการเพื่อปรับปรุงสภาพของดินให้เหมาะสม ก่อนการปลูกพืช ตามวิธีการปกติเสียก่อน

สัณฐานของดิน

          หากเราสังเกตหน้าตัดดินตัวอย่างในระยะใกล้ ๆ จะเห็นว่ามีความแตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของสี เนื้อดิน โครงสร้าง หรือการพบ วัสดุต่าง ๆ ในดิน และ อื่น ๆ ความต่างเหล่านี้ เป็นผลมาจากปัจจัย และกระบวนการเกิดดินที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อลักษณะดิน ชนิดของพืชพรรณธรรมชาติที่ขึ้นปกคลุม รวมถึง ความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ ที่ดินที่แตกต่างกันไปด้วย
          การตรวจสอบลักษณะสีดิน เนื้อดิน โครงสร้างของดิน ร่องรอยแตกระแหง เศษชิ้นส่วนของหิน หรือลักษณะอื่น ๆ ที่ปรากฏ อยู่ใน ดินทั้งที่ มองเห็นและสัมผัสได้ จะทำให้เราสามารถประเมินสมบัติของดินบางประการได้ เช่น การระบายน้ำ สภาพแวดล้อมในการเกิดดิน พัฒนาการของดิน หรือความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นต้น

สิ่งมีชีวิตและอินทรียวัตถุในดิน
          ดินมีลักษณะเป็นวัสดุพรุน มีทั้งอากาศ น้ำ และสารอาหารต่าง ๆ อยู่มากมาย จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ และเป็น ถิ่นที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึง พวกจุลินทรีย์ดินที่มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น บทบาทที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตในดิน คือ การย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ จนกลายเป็น อินทรียวัตถุในดิน นอกจากนี้กิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีพ ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ ยังมีผลต่อสมบัติ ต่าง ๆ ของดิน อีกด้วย

พระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในการวิจัยและใช้ประโยชน์ข้อมูลดิน
          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัย ในการศึกษา งานสำรวจจำแนกดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน การ อนุรักษ์ดินและน้ำ และการปรับปรุงบำรุงดินอย่างจริงจัง ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ในการค้นคว้าจนเข้าพระทัยได้อย่างลึกซึ้ง และสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปพัฒนา ใช้ในการแก้ปัญหาของพื้นที่ เพื่อประโยชน์แก่เกล่า พสกนิกร ให้มีความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชาติ ได้รับการอนุรักษ์ และมีการ ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม
          พระองค์ทรงเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย เรื่องการศึกษาความถูกต้องของแผนที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียม บริเวณพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส และโครงการวิจัย เรื่อง การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการพัฒนาพื้นที่การเกษตร บริเวณจังหวัดลพบุรี ในปี พ.ศ.2531-2532

Soil Museum Thailand
          Thailand is regarded as an agricultural country. Soil is a fundamental agricultural resource that plays an important role in the growth of our country's economy. Soil is not simply dirt under our feet. It is a life support system for plants and organisms that lie the bottom of food chain. Soil is obviously the necessary medium for terrestrial plant life asnd nutrients. What does soil does that makes it so important and unique? Find out!...answers to your questions in our Soil Museum...

What is soil?
          Soil is a natural body on the earth's surface which has been formed by combinding weathered rock minerals and decomposed plants (organic matter). It is a mixture of solids (minerals and organic matter), water and air that occur in greatly varying proportions. The properties of soil continuously change with time and differ from place as result of many natural and anthropogenic factors known as soil forming factors: climate, and living organisms (including human impact), natural slope, weathering of parent rock material. Soils as a product of these various soil forming factors have large differences in their mrphology, fertility and behavior for a wide range of uses.

Background of soil survey...
          Soil survey and classification was first carried out in Thailand in 1935. The first general Soil Map of Thailand at scale of 1:2,500,000 was prepared and published in 1963. In the beginning, soil survey activity was acattered among different departments. Later,soil survey and classification were transferred to the Land Development Department after its establishment in 1963. A soil map of Thailand (scale of 1:2,500,000) as well as the USDA Soil Classification System (1938) was introduced to be adapted to soil survey work in Thailand. The detailed reconnaissance soil survey at provincial level began in 1979 and subsequent soil surveys at other intensities have also been carried out.

Soil of Thailand
          Soil in Thailand are classified using national system of the US Soil Taxonomy by United State Department of Argricultures. The current version of the system has six levels of classification in its hierarchical structure. The major divisions in the classification system are: orders, suborders, great groups, subgroups, families, and series, respectively.
          "Soil Series" is the most homogeneous category in the taxonomy. As a class, a series is a group of soils that has horizons similar in arrangement and in differentiating characteristics. In general, soil series carries names that are highly recognizable within the local area where the soil series was first officially recognized. Names of district, towns, provinces, and ,local physical or geographic features are commonly used as soil series, Kula Ronghai soil series. There are approximately 240 different soil series in Thailand. Moreover, the agencies produced soil management reports classifying 62 groups of soil series to be used as a manual for solving soil problems.

Problem Soils...
          Problem soils are soils with properties unsuitable for agricultural use and require special management practices for productive cultivation. Due to their specific eco-environment, they result in servere environmental degradation if used for general agricultural production.
          There are 5 mail soil with servere constraint for agronomic productions: saline soils, acid sulfate soils, shallow soils, sandy soils and organic soils (peat soils). Moreover, the mountainous soils, where slope are steeper than 35%, are also considered as problem soils due to steepness of the area which results in erosion and other environmental problem.

          The northern parallel ranges the valleys between them provide the catchments and headwaters of four major tributaries of the Chao Phraya River-the Ping, Wang, Yom and Nan Rivers that drain southward. Between the ranges of the north are valleys and serveral intermountain plains that provide land for agriculture and settlements. The soil moisture is high and the soil productivity continuous tobe above average for the country. Steep slope of these soils is the main constraint that effect the agricultural production in this region.
          The central plain extends southward from the ranges and valleys of the north to the Gulf of Thailand. This long and wide plain has deep soils deposited by water as it encompasses the alluvial plain of the Chao Phraya River with its many tributaries, and the surrounding piedmont betts. This rivers system provides the lower plain with outstanding soil fertility for agriculture compared to than other regions.
          The Northeast Plateau in some 200 m above mean sea level at its western edge portion with flat to undulating terrain. The area of sandy soil that is generated by weathering of the sediments above the Maha Sarakham Formation, occupies about 80% of northeast Thailand. The majority of soils are coarse sand with low fertility and are susceptible to erosion. Saltaffected soild, sandy soils and skeletal soils are main problem that effect the agricultural production in this region.
          The Peninsular South is a continuation western mountains and comprises a number of basins, rivers and coastal plains that are fertile and habitable. More coastal plains and stretches of long beaches are found on the east coast, whereas the west coast appears to be a submerged coast, with a very irregular shoreline and many estuaries. Most of soils are low fertility with high leaching condition due to grater amount of moisture and high precipitation.

(อ้างอิงจาก : สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน)
(Office of Soil Resources Survey and Research Tel. 02 562-5138)

สนใจศึกษาดูงาน ชมนิทรรศการ ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ หรือต้องการสื่อประชาสัมพันธ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่
คุณมิรันตี ฐิติโชติรัตนา

โทร. 02 562 5138
โทร. 1760 ต่อ 5138

กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์ดิน
สำนักงานเลขานุการกรม
กรมพัฒนาที่ดิน

เดินดินไปดูดินที่"พิพิธภัณฑ์ดิน" นสพ.ผู้จัดการออนไลน์ 26 กันยายน 2549 16:02 น.
 โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
มุมแสดงหน้าตัดดินจำลองจำแนกตามกลุ่มชุดดิน

        ใครจะรู้บ้างว่าห่างจากแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ไปไม่ไกลนักเป็นที่ตั้งของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งแม้ว่าบ่อยครั้งที่ฉันสัญจร ผ่านก็ยังไม่เคยเหลียวมองเลยว่า ภายในจะมีสิ่งใดน่าสนใจอยู่บ้าง คิดเพียงว่าเป็นสถานที่ราชการเท่านั้น จนเมื่อไม่นานมานี้ฉันก็มีโอกาสผ่านไปย่านนั้นอีกครั้ง และต้องสะดุดตากับป้ายขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่หน้ากรมพัฒนาที่ดิน ที่ประกาศเชิญชวนให้เข้าเยี่ยมชม "พิพิธภัณฑ์ดิน" ฟรี!! ด้วยความใคร่รู้เมื่อสบโอกาสว่างจึงไม่พลาดที่จะแวะชม
       
       พิพิธภัณฑ์ดินแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณด้านล่างของอาคารที่ทำการกรมพัฒนาที่ดิน เดินตรงเข้าไปในตัวอาคารเลี้ยวขวาก็ถึงแล้ว สำหรับหนุ่มลูกทุ่งอย่างฉันที่ผูกพันอยู่กับไอดินและกลิ่นโคลนสาบควายมาก่อนนั้น จึงค่อนข้างอยากรู้เป็นพิเศษว่าในพิพิธภัณฑ์จะเป็นเช่นไร เผื่อจะได้นำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ส่งกลับไปให้ญาติพี่น้องนำไปพัฒนาผืนดินแถวท้องไร่ท้องนาบ้านฉันได้อย่างถูกวิธี

       ทันทีที่เข้าไปถึงสิ่งที่ฉันอยากรู้ไม่ใช่เรื่องราวเกี่ยวกับดินซะทีเดียว แต่อยากรู้ประวัติความเป็นมาขององค์กรก่อนต่างหากเพราะถ้าไม่มีกรมพัฒนาที่ดินก็ไม่มีพิพิธภัณฑ์ดินเกิดขึ้นแน่นอน ฉันจึงเดินตรงรี่ปรี่เข้าไปดูประวัติของกรมพัฒนาที่ดินก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งก็มีการบอกประวัติพอสังเขปตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจดินครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อพ.ศ.2478 และที่มาที่ไปก่อนจะมาเป็นกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วยงานหลักที่ทำงานด้านการศึกษาสำรวจทรัพยากรดินและที่ดิน
       
       ส่วนพิพิธภัณฑ์ดินนั้นถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2545 และเพิ่งได้รับการปรับปรุงล่าสุดไม่นานมานี้ เมื่อเปลี่ยนโฉมแล้วก็ได้เชิญเสด็จสมเด็จพระเทพฯมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นวันครบรอบ 43 ปีการก่อตั้งของกรมพัฒนาที่ดินอีกด้วย
       
       พิพิธภัณฑ์ดินที่นี่ถือได้ว่าเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และมีความทันสมัยสมบูรณ์แบบที่สุดในเอเชีย ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์ดินแห่งนี้นอกจากจะจัดแสดงประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งกรมพัฒนาที่ดินแล้ว ก็ยังมีมุมสำหรับการแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในการสำรวจดินยุคแรก ๆ

บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์ดิน
ส่วนจัดแสดงเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจดิน

       อาทิ เข็มทิศ จอบ เสียม กล่องอุปกรณ์สนามสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศและการสำรวจดิน หรืออย่างสว่านเจาะดิน ที่แยกย่อยออกมาเป็น “สว่านกระบอก” สำหรับใช้เจาะดินร่วนหรือดินทราย “สว่านใบมีด” เพื่อใช้เจาะดินเหนียว หรือจะเป็นชุดวัดปฏิกิริยาดินที่ใช้วัดความเป็นกรดเป็นด่างของดินและเครื่องมืออื่นๆอีกกว่า10ชนิด
       
       เครื่องมือเหล่านี้บอกตามตรงเลยว่าฉันก็เพิ่งเคยเห็น เคยรู้จัก ก็เมื่อได้มาที่นี่บางอย่างถ้าไม่บอกก็ไม่รู้หรอกว่าเกี่ยวข้องกับดินได้อย่างไร มันทำให้รู้ว่าใต้ฝ่าเท้าที่เรายืนอยู่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตแค่ไหน ก็อะไรบ้างล่ะที่ไม่ใช้ดินเป็นส่วนประกอบทั้งสร้างบ้าน ปลูกพืชผักผลไม้ ผลิตผลต่างๆ ทุกอย่างล้วนต้องใช้ดินทั้งนั้น เห็นทีกลับออกจากที่นี้ฉันคงต้องขอกลับไปจุดธูปเทียนบูชาพระแม่ธรณีสักหน่อยเป็นไร
       
       สำหรับคนขี้ร้อนก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะข้างในพิพิธภัณฑ์เปิดแอร์เย็นฉ่ำทีเดียว สามารถเดินดูได้เรื่อยๆ เพลินตาดีด้วยแถมยังได้ความรู้เกี่ยวกับพื้นปฐพีเพิ่มขึ้นด้วย ฉันพอจะจำเรื่องดินในชั่วโมงวิทยาศาสตร์เมื่อครั้นเรียนมัธยมได้บ้าง ที่อธิบายถึงการกำเนิดดินไว้ว่า ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่าง ๆ โดยใช้เวลาที่นานมาก หินที่สลายตัวผุกร่อนก็จะมีขนาดต่าง ๆ กัน เมื่อผสมรวมกับซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ ก็กลายเป็นเนื้อดินซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน


       ที่นี่มีการนำตัวอย่างดินด้านวิวัฒนาการการสำรวจจำแนกดินของประเทศไทยมาจัดแสดงให้ชมด้วย ซึ่งจะบอกถึงการจำแนกดินว่าเป็นดินชนิดใด การกำเนิดของดินชนิดนั้นเป็นอย่างไร ควรอยู่ในสภาพพื้นที่ใด การระบายน้ำดีหรือไม่ พืชพรรณธรรมชาติที่เหมาะสมกับชนิดของดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินปลูกพืชชนิดใดมีข้อจำกัดใดและมีข้อเสนอแนะต่อสภาพดินในแต่ละชนิดพอสังเขปให้ด้วยซึ่งก็นับว่ามีประโยชน์มากทีเดียว
       
       เมื่อเดินเข้าไปถึงด้านในสุดของพิพิธภัณฑ์ก็จะพบ การแสดงหน้าตัดชุดดินของไทยตามสภาพภูมิประเทศจำแนกตามกลุ่มชุดดินที่ทางกรมพัฒนาที่ดินได้จัดหมวดหมู่ไว้ตามลักษณะ ศักยภาพ และการจัดการที่คล้ายคลึงกันซึ่งแบ่งดินออกเป็น 62 กลุ่มชุดดิน ซึ่งปัจจุบันพบว่าผลงานนี้มีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง
       
       อย่างเช่น กลุ่มชุดดินที่35 ก็จะมีข้อมูลอย่างชัดเจนระบุว่าเป็นกลุ่มชุดดินที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง พร้อมกันนี้ยังมีตัวอย่างกลุ่มชุดดินจากที่ต่างๆในกลุ่มนี้มาในชมอีกด้วย เช่น ชุดดินโคราช ชุดดินห้างฉัตร ชุดดินดอนไร่ ชุดดินวาริน เป็นต้น ทำให้เราได้รู้ว่าสภาพดินในแต่ละพื้นที่มีหน้าตาเป็นอย่างไรซึ่งก็มีครอบคลุมครบทุกชนิดดิน

ตู้จัดเก็บอุปกรณ์สำคัญในการสำรวจดิน
กล่องอุปกรณ์สนามสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศและการสำรวจดิน

       ยังมีมุมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับดิน และให้ศึกษาถึงวิธีการปรับปรุงดินทั้ง 62 กลุ่มชุดดิน ที่สามารถสืบค้นหาได้ด้วยตนเองอีกด้วย เรียกว่างานนี้เป็นประโยชน์ทางการเกษตรอย่างคุ้มค่า แม้ว่าพื้นที่นั้นจะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตต่ำ หรือเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาต่อการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรก็ตามก็จะมีข้อแนะนำให้อย่างชัดเจน
       
       นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของดินเสียทั้งดินเปรี้ยวจัด ดินตื้น ดินเค็ม ดินเป็นทรายจัด ดินกรด ดินพรุ พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน พร้อมกับแผนที่ประเทศไทยที่บ่งชี้ว่า พื้นดินส่วนนี้มีลักษณะของดินเสียที่ควรแก้ไขอย่างไรอีกด้วย อืม...ตอนนี้ฉันเริ่มคิดถึงผืนนาที่บ้านเกิดเสียแล้วสิ ที่ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้นคงเป็นเพราะฉันปลูกพืชไม่เหมาะสมกับชนิดของดินเป็นแน่แท้
       
       ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือมุมจัดแสดงโครงการอันเนื่องพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์แห่งดิน” มีภาพและการบรรยายถึงแนวพระราชดำริที่เป็นประโยชน์ในโครงการต่างๆ อาทิ โครงการแกล้งดินที่ทรงให้มีการทดลองทำดินเปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้งและศึกษาวิธีแก้ดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยวแก่ราษฎร โครงการหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดิน โครงการพัฒนาดินเลว ที่มีพระราชประสงค์ให้มีการฟื้นฟูสภาพดินเพื่อเกษตรกร เป็นต้น

"เข็มทิศ" หนึ่งในเครื่องมือสำรวจดิน

       อ้อ!!ใครที่ไม่มีความรู้พื้นฐานเลยก็สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ได้ แล้วก่อนกลับก็อย่าลืมแวะลงทะเบียนด้วยเพื่อว่าจะได้เป็นหลักฐานยืนยันว่าเรานั้นได้มาเที่ยวที่นี้แล้ว ส่วนฉันก็ขอนำความรู้เรื่องดินๆที่ได้วันนี้กลับไปศึกษาเพิ่มเติมก่อนที่จะเอาไปบอกญาติพี่น้องบ้านนาได้อย่างถูกต้อง
       
       สำหรับผู้สนใจสามารถเข้ามาชม "พิพิธภัณฑ์ดิน" ได้ที่ กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ติดต่อที่กลุ่มงานพิพิธภัณฑ์ดิน สำนักงานเลขานุการกรม หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.02-562-5138