• สวดภาวนา •
๏ การสวดมนต์ ภาวนา บ้างก็รับรู้รับทราบถึงบทนั้น บ้างซาบซึ้งและเข้าใจถึงบทนั้น บ้างไม่รู้แต่ได้อยู่กับตัวเอง เพื่อหยุดกรรมอื่นเพราะบทนั้น การไม่รู้เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การเรียนรู้และการรู้ เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง เห็นชอบบ้าง ไม่เห็นชอบบ้าง ล้วนแต่ต้องลงมือกระทำมาบ้างแล้ว หมายความว่า ได้รับรู้ว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้นมาตอนนี้ แต่อาจไม่เคยรู้บ้าง เคยรู้บ้าง หากไม่รับรู้ว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้น ก็ไม่อาจตอบได้ว่ารู้หรือไม่ แต่หลังจากรับทราบแล้ว จึงกล่าวได้ว่ารู้แล้วว่าเรื่องนี้มีอยู่ แต่อาจเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง เป็นลำดับต่อไป
1:2:3:4:5:6
๏ คำขอขมาพระรัตนตรัย

          สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตเยนะ กะตัง
          สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ
- แปล
          หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกิน ต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
          ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดงดเว้นโทษ ให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบจนเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ

 
๏ คำอาราธนา ศีล5

          " มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
          ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุงวิสุง รักขะ นัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
          ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ "

          ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 5 ข้อ พร้อมทั้งพระรัตนตรัย เพื่อประโยชน์แก่ การจะรักษาต่าง ๆ กัน

 
๏ ศีล 5

          ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
          สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
-แปล
          ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า
          ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ,ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช่ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ
          ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
          ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง และคำล่อลวง อำพรางผู้อื่น
          ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่าง ๆ

          อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ
          อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ
          อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ
          ข้าพเจ้าขอทรงไว้ซึ่งศีลทั้งห้าประการด้วยจิตตั้งมั่น (3 ครั้ง)

(พระสวดรับรองว่า)
          ศีเลนะสุขคติงยันติ (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงความสุข)(ผู้ขอพึงรับ สาธุ )
          ศีเลนะโภคะสัมปะทา (ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่งโภคทรัพย์)(ผู้ขอพึงรับ สาธุ )
          ศีเลนะนิพพุติงยันติ (และศีลนั้นยัง จะเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือความดับเย็นจากกิเลศ เครื่องเศร้าหมอง ทั้งปวง)
          ตัสสมา ศีลัง วิโสทะเย (ศีล จึงเป็นสิ่งที่วิเศษนักที่เธอทั้งหลายพึงยึดถือเป็นหลัก ประจำชีวิต ประจำจิตใจ ปฏิบัติ ให้ได้ ดังนี้ แล) (ผู้ขอพึงรับ สาธุ )
สาธุ (แปลว่า ดีแล้ว ชอบแล้ว)

 
๏ บทบูชาพระรัตนตรัย
          อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
          สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
          สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
- แปล
          :สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง           ข้าพเจ้าขออภิวาทพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน
          :พระพธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม
          :พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์
 
๏ บทนมัสการพระพุทธเจ้า

          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
- แปล
          ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง


 
๏ บทพระพุทธคุณ

          อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
- แปล
          พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้แจกจ่ายธรรม เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ดีโดยชอบด้วยพระองค์เอง ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ (ความรู้และความประพฤติ) เสด็จไปดี(คือไปที่ใดก็ยังประโยชน์ให้ที่นั้น) ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ควรฝึก หาผู้อื่นเปรียบมิได้ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้ตื่น ทรงเป็นผู้แจกจ่ายธรรม

- บทพระพุทธคุณ (ทำนองสรภัญญะ)
          องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลกิเลสมาร บ มิหม่นมิหมองมัว หนึ่งนัยพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมศานต์ ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปพำเพ็ญบุญ ข้าฯ ขอประณตน้อม ศิระเกล้าบังคมคุณ สัมพุทธการุญ- ญภาพนั้นนิรันดรฯ

 
๏ บทพระธรรมคุณ

          สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฺฐิโก
          อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง
          เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
- แปล
          พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
          เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
          เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
          เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
          เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
          เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้...

- บทพระธรรมคุณ (ทำนองสรภัญญะ)
          ธรรมะคือคุณากร ส่วนชอบสาคร ดุจดวงประทีปชัชวาล
          แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน สว่างกระจ่างใจมล
          ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล และเก้ากับทั้งนฤพาน
          สมญาโลกอุดรพิศดาร อันลึกโอฬาร พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
          อีกธรรมต้นทางครรไล นามขนานขานไข ปฏิบัติปฏิยัติเป็นสอง
          คือทางดำเนินดุจคลอง ให้ล่วงลุปอง ยังโลกอุดรโดยตรง
          ข้าฯ ขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง ด้วยจิตและกายวาจาฯ

 
๏ บทพระสังฆคุณ

          สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
          อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
          ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
          สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
          ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
          เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย
          ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
          อนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
- แปล
          สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
          สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติตรงแล้ว
          สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
          สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติสมควรแล้ว
          ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั้นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
          เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
          เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
          เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
          เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
          เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

- บทพระสังฆคุณ (ทำนองสรภัญญะ)
          สงฆ์ใดสาวกศาสดา รับปฏิบัติมา แต่องค์สมเด็จภควันต์
          เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร- ลุทางที่อัน ระงับและดับทุกข์ภัย
          โดยเสด็จพระผู้ตรัสไตร ปัญญาผ่องใส สะอาดและปราศมัวหมอง
          เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลำพอง ด้วยกายและวาจาใจ
          เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัย และเกิดพิบูลย์พูนผล
          สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์ อเนกจะนับเหลือตรา
          ข้าฯ ขอนบหมู่พระศรา- พกทรงคุณา- นุคุณประดุจรำพัน
          ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน อุดมดิเรกนิรัติศัย
          จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด จงดับและกลับเสื่อมสูญฯ