โครงการอนุรักษ์สภาพป่าในพื้นที่อำเภออมก๋อย บ้านอูตูมเหนือ หมู่ที่ 6 ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติความเป็นมา
           เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2535 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรบ้านยั้งเมิน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีฐานะยากจนและสภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ได้ทรงมีพระราชดำริกับแม่ทัพภาคที่ 3 , ผู้ว่าราชการเชียงใหม่ , เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและผู้เกี่ยวข้อง เรื่อง แนวทาง การดำเนินงาน โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าสะเมิง ดังนี้
           1. การอนุรักษ์สภาพป่า โดยรักษาสภาพป่าที่สมบูรณ์ให้คงอยู่ฟื้นฟูสภาพป่า จัดระเบียบชุมชนให้คนอยู่ร่วมกับป่า ปลูกป่า ดูแลรักษาป่า ให้ความรู้ กับราษฎร ในการ ประกอบอาชีพ ในพื้นที่ป่า โดยไม่ทำลายป่า ในลักษณะ " บ้านเล็กในป่าใหญ่ " โดยทรงเน้นว่า " การปลูกป่าคือการเพิ่มน้ำในดิน " โดยพืชที่ปลูกจะเป็นพืชชนิดใดก็ได้ที่เหมาะสม โตเร็ว แข็งแรง ทนทาน สามารถ ปกคลุม รักษาผิวดินได้
           2. ทำการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ กับราษฎร ทางสื่อมวลชน ทุกประเภท ให้ทราบถึง ภัยของการตัดไม้ ทำลายป่า ซึ่งจะมีผล ถึงการทำลาย สภาพแวดล้อม แหล่งต้นน้ำ ลำธาร
           3. ขอให้ ทภ.3 , จังหวัดเชียงใหม่ , สำนักงาน กปร. , กองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ร่วมวางแผน ดำเนินการ อนุรักษ์ สภาพป่าไม้ ในพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติ ป่าสะเมิง ตลอดจน การแก้ปัญหา ความเดือดร้อน ของราษฎร เรื่องพื้นที่ทำกิน การจัด ระเบียบ ชุมชน การขาดแคลน แหล่งน้ำ เพื่อการบริโภค



วัตถุประสงค์
           1. เพื่อรักษา สภาพป่า ที่ยังคง อุดมสมบูรณ์อยู่ มิให้ถูกทำลาย ต่อไป ตลอดจน อนุรักษ์สัตว์ป่า และรักษาสภาพ สิ่งแวดล้อม
           2. ฟื้นฟูสภาพป่า ที่ถูกทำลาย เสื่อมโทรม ให้คืนสู่สภาพป่า ที่อุดมสมบูรณ์ ดังเดิม โดยให้มีทั้ง ป่าไม้ ธรรมชาติ ป่าไม้เศรษฐกิจ และป่าไม่ใช้สอย โดย ให้ราษฎร ร่วมกันดูแล และใช้ประโยชน์ จากป่าไม้ ดังกล่าว อย่างเหมาะสม
           3. พัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ ของราษฎร ให้ดีขึ้น ให้มีอาชีพ และที่ทำกิน เป็นหลักแหล่ง และอาศัยอยู่กับ ทรัพยากรป่าไม้ อย่างสมดุล


สถานที่ดำเนินการ
           บ้านผายอง หมู่ที่ 9 ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
           - ขอบเขตพื้นที่โครงการ 573,995 ไร่