☼โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรีิ☼
๏ ความเป็นมา
"
ให้พิจารณาพื้นที่ที่เหมาะสม จัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตร ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ของจันทบุรี..."
และได้พระราชทานเงินที่ราษฎร จ.จันทบุรี ได้ร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย โดยเสด็จพระราชกุศล ในโอกาสดังกล่าว เป็นทุนดำเนินการ มีพระราชดำริว่า ในอนาคต จะมีการขยายการทำสวนผลไม้เพิ่มขึ้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระราชดำริเพิ่มเติม ณ พระตำหนักจิตรลดารโฐาน สาระสรุปได้ว่า
"...ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรมหรือพื้นที่สาธาณประโยชน์ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาเช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาในเขตที่ดินชายทะเล..."
ทาง จ.จันทบุรี จึงได้ร่วมมือกันหารือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและกำหนดพื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกรมประมงเป็นหน่วยงานหลักในการประสานการดำเนินงานในพื้นที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นจึงรับสนองพระราชดำริ ก่อตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2524 ที่ ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประมง สำนักงาน จ.จันทบุรี กรมที่ดิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โครงการชลประทาน จ.จันทบุรี กรมชลประทาน สำนักนโยบายและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด กรมปศุสัตว์ ฯลฯ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ นี้ ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากรัฐบาลแคนาดา 5 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2533-2538
๏ วัตถุประสงค์
1) ศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน
2) เป็นศูนย์กลางในการอบรมเผยแพร่ ผลการศึกษาการจัดการทรัพยากรชายฝั่งให้แก่ส่วนราชการและภาคเอกชนทั่วไป
3) การยกระดับฐานะความเป็นอยู่ อาชีพของราษฎรบริเวณรอบอ่าวคุ้งกระเบนและพื้นที่ใกล้เคียงโดยมุ่งเน้นพัฒนาราษฎรที่มีฐานะยากจน
4) พัฒนาด้านการประมง และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เพื่อเป็นการเพิ่ม ผลิตของประเทศ และเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านการประมงตลอดจน พัฒนากิจกรรมทางด้านอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย
5) อนุรักษ์สภาพแวดล้อมและดุลยภาพทางธรรมชาติให้คงลักษณะพิเศษของพื้นที่เอาไว้
6) ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพัฒนา
๏ ระยะเวลาดำเนินการ
เริ่ม ปี พ.ศ.2525 จนถึง ปัจจุบัน
๏ พื้นที่ดำเนินการ
พื้นที่ดำเนินงาน และพื้นที่ขยายผล ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อ่าวคุ้งกระเบนฯ ครอบคลุม 33 หมู่บ้านใน ต.คลองขุด, ต.รำพัน, ต.โขมง อ.ท่าใหม่ และ ต.สนามไชย, ต.กระแจะ อ.นายายอาม จ.จันทบุรี
มีพื้นที่ประมาณ 71,025 ไร่ พิกัด N 1392000 E 81400 ระวางแผนที่ 5334 II
๏ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ แก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎรและเกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ และหมู่บ้านบริวารศูนย์ศึกษา
2) เกษตรกรในพื้นที่ได้รับบริการงานพัฒนาที่ดินด้านต่างๆได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3) พื้นที่ของเกษตรกรในโครงการฯได้รับการฟื้นฟู ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
4) เกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ ลดการใช้ปุ๋ยเคมีและ สารเคมีทางการเกษตร สามารถลดต้นทุนการผลิต สร้างรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
5) เกษตรกรในพื้นที่โครงการฯมีจิตสำนึกและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
๏ หน่วยงานรับผิดชอบ
หน่วยงานหลัก
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กรมประมง
- กองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
หน่วยงานร่วมสนับสนุน
- สถานีพัฒนาที่ดินจันทบุรี กรมพัฒนาที่ดิน
- สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6
- สำนักงานปศุสัตว์ จ.จันทบุรี
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ
- โครงการชลประทาน จ.จันทบุรี
- สำนักงานสหกรณ์ จ.จันทบุรี
- สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ จ.จันทบุรี
- สำนักงานเกษตร จ.จันทบุรี
- สำนักงานพัฒนาชุมชน จ.จันทบุรี
- สำนักงานจังหวัด จ.จันทบุรี
- สำนักงานสาธารณสุข จ.จันทบุรี
- สำนักงานประถมศึกษา จ.จันทบุรี
- สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จ.จันทบุรี
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขตเศรษฐกิจที่ 20 จ.จันทบุรี
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด,ตำบลสนามไชย,ตำบลรำพัน