เอกสารเล่มที่ 010125500001
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
กดเปิดเอกสาร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดย คณะปฏิรูปการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน กรุงเทพมหานคร นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ
ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ ประธาน สนช. จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย
เนื่องจากในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างจึงดำเนินไปบนความร้อนแรงทางการเมือง เผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการ
วิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง อาทิ การขาดความมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากประชาชน การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่าง อาทิ มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการ
แต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
การแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญดูบทความหลักที่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 สภาร่างรัฐธรรมนูญมีหน้าที่จัดร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีขั้นตอนการแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้ง สมัชชาแห่งชาติ จำนวน 2,000 คน (มาตรา 22)
สมัชชาแห่งชาติ กรอง ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 200 คน โดยเลือกให้เสร็จภายใน 7 วัน (มาตรา 22)
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กรอง ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จาก 200 คน เหลือ 100 คน (มาตรา 22)
ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรอง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 25 คน สมัชชา (มาตรา 25)
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยตรง อีกจำนวน 10 คน (มาตรา 22)
ขั้นตอนการแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ถูกต่อต้าน ทั้งจากกลุ่ม นักวิชาการ นักวิชาการที่เคยต่อต้านรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และ กลุ่มสิทธิมนุษยชนสากล
แนวทางของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ให้แนวทางกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
ห้ามไม่ให้บุคคลใดมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีเกินสองสมัย
ห้ามไม่ให้รัฐบาลทำหน้าที่รักษาการในช่วงระหว่างการยุบสภาจนถึงการเลือกตั้ง
แก้ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งด้วย แทนที่จะมาจากการเลือกตั้งเพียงวิธีเดียว
อนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้น
แก้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้วางแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยยึดตามแนวทางและแก้ไขจุดอ่อนของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญนี้ 4 ประการ คือ
1.คุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน
2.ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ และเพิ่มอำนาจประชาชน
3.การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม
4.ทำให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การประกาศใช้
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)
นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ ส.ส.ร. นางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สนช. พร้อมด้วยข้าราชการระดับสูงของรัฐสภาเข้าร่วมในพิธี จากนั้นนายมีชัยพร้อมคณะเดินทางไป
ยังพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายร่าง รธน. เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชมเชย ส.ส.ร.ว่าอุตสาหะร่าง รธน.จนเสร็จ เพราะยากมาก จากนั้นจึงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้
บังคับเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศต่อไป ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้เตรียมการไว้[20]
มีรายงานว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้จัดทำไว้ทั้งสิ้น 3 เล่ม[20] หลังจากทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วจะนำไปเก็บไว้ 3 แห่งด้วยกัน ฉบับที่ทำด้วยทองคำแท้จะเก็บไว้ที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอีก 2 เล่ม ที่ทำด้วยเงินกะไหล่ทอง เก็บ
ไว้ที่สำนักราชเลขาธิการ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)
ขั้นตอนสำคัญที่เกิดภายหลังทรงลงพระปรมาภิไธย คือ การประทับพระราชลัญจกร 4 องค์[20] ประกอบด้วย พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต พระราชลัญจกรหงสพิมาน และพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัฐธรรมนูญแต่
ละฉบับมีจำนวน 592 หน้า 2,368 บรรทัด มีน้ำหนัก 7 กิโลกรัม และปกมีตราพระครุฑพ่าห์ติด พร้อมลงรักปิดทองทั้ง 6 ด้านตามโบราณราชประเพณี
การแก้ไขเพิ่มเติม
ดูบทความหลักที่ การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
หลังจากพรรคพลังประชาชนได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ได้มีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนใหญ่เป็นการนำเนื้อหาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กลับมาใช้ และมีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายส่วน ซึ่งปรากฏว่าได้
มีหลายฝ่ายออกมาคัดค้าน[21] โดยระบุว่าอาจนำไปสู่วิกฤตทางการเมืองเพราะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เป็นเหตุให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านตั้งแต่วันที่ 25
พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ให้เรียกร้อง ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กลับมาบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีการแก้ไขมาตรา 93-98[22]
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีการแก้ไขมาตรา 190 เพียงมาตราเดียว[23]
อ้างอิง
1.^ The Bangkok Post, Draft charter loopholes can 'resurrect Thaksin regime', 28 September 2006
2.^ The Nation, Poll should precede new charter: law experts, 2 October 2006
3.^ Asian Human Rights Commission, THAILAND: MILITARY COUP - Constitutional fictions, 9 October 2006; see also THAILAND: MILITARY COUP - How to make courts independent?, 6 October 2006; THAILAND:
MILITARY COUP - The right man for what job?, 4 October 2006
4.^ The Nation, Thumbs down for the next charter, 15 January 2007
5.^ The Nation, http://nationmultimedia.com/2007/06/21/headlines/headlines_30037428.php Surayud promises earlier national poll if new charter passes drafting, 21 June 2007
6.^ The Nation, Sonthi issues guidelines for new charter, 17 December 2006
7.^ The Nation, Charter drafter pans 'evil' elections, 27 April 2007
8.^ Borwornsak Uwanno and Wayne D. Burns, The Thai Constitution of 1997 Sources and Process, part 1
9.^ Borwornsak Uwanno and Wayne D. Burns, The Thai Constitution of 1997 Sources and Process, part 2
10.^ The Christian Science Monitor, [Draft Thai constitution draws criticism], 27 April 2007
11.^ IPS, New Constitution Regressive Say Critics, 23 April 2007
12.^ คมชัดลึก, ม็อบชาวพุทธปิดถ.อู่ทองในกดดันสสร.บัญญัติพุทธศาสนาประจำชาติ, 11 มิถุนายน พ.ศ. 2550
13.^ สำนักข่าวเนชั่น, องค์กรพุทธร้องบรรจุพุทธศาสนาประจำชาติในรธน., 13 กุมภาพันธ์ 2550
14.^ คมชัดลึก, ล่ารายชื่อเปลี่ยน"ประเทศไทย"เป็น"สยาม", 9 เมษายน 2550
15.^ ลุ่มเพศที่ 3 รุก เพิ่มข้อความม.30
16.^ โพสต์ทูเดย์/บางกอกโพสต์, รัฐธรรมนูญ : ประชามติเพื่อชาติ, 10 สิงหาคม 2550
17.^ ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ 2540
18.^ http://news.sanook.com/scoop/scoop_248524.php
19.^ สถิติการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 19 ส.ค. 2550 จำแนกตามรายภาค
20.^ 20.0 20.1 20.2 20.3 มติชน, "รธน."มีผลแล้ว ในหลวงลงพระปรมาภิไธย, 25 สิงหาคม 2550
21.^ มติชน, ส.ส.'พปช.'ปัดแก้รธน.ฟอก'แม้ว'นิรโทษฯ 111 ทรท. ยันไม่สนถูกถอดจากตำแหน่ง, 1 เมษายน 2551
22.^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/013/1.PDF
23.^ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/013/7.PDF
การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549
สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
เลือกหัวข้อใหม่