ข่าว : สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5
รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อนุวัชร โพธินาม เยี่ยมชมการปรับปรุงดินด้วยนวัตกรรมดินมีชีวิต (ดินชีวภาพ) ภายใต้ สกลนครโมเดล สู่ชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก


วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
ณ จังหวัดสกลนคร

           วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08.30 น. นายอนุวัชร โพธินาม รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน พร้อมด้วยนายอธิวัฒน์ สิทธิภิญญาวัฒน์ ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน นางนวลจันทร์ ชบา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน นางจันทร์จิรา แสงสีเหลือง รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านบำรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ นายสมาน ก้อนศรีษะ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร หมอดินอาสาในพื้นที่ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับ ผศ. ดร. แพรทอง เหลาภา อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.ลักษณาวดี ทรายขาว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เข้าเยี่ยมชมการปรับปรุงดินด้วยนวัตกรรมดินมีชีวิต (ดินชีวภาพ) ภายใต้ สกลนครโมเดล สู่ชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ของนายบพิตร สินธุรวิทย์ (ลุงโอ๋ ธนาคารถ่าน) ศูนย์เรียนรู้ในตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดย กรรมวิธีการปรับปรุงดินให้เป็นดินมีชีวิต โดยใช้ส่วนประกอบหลัก ได้แก่ ปุ๋ยหมักหรือมูลสัตว์ ถ่านกัมมันต์ ดิน และน้ำหมักจากจุลินทรีย์ท้องถิ่นคู่แฝด ผสมกันจะเป็นหัวเชื้อดินมีชีวิตเพื่อนำไปปรับเปลี่ยนดินทั่วไปให้เป็นดินที่มีชีวิตหรือไบโอซอยด์(biology soil) สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างของดินลูกรัง ให้เป็นดินร่วมภายในเวลา 1-2 เดือน เนื่องจากมีจุลินทรีย์คู่แฝด (เกิดจากจุลินทรีย์จาวปลวกและหน่อกล้วย) โดยจุลินทรีย์จะทำงานร่วมกับถ่านกัมมันต์ ซึ่งมีลักษณะทึบแสงทำหน้าที่เป็นที่อยู่ของจุลินทรีย์ และถ่านยังมีสมบัติในการไฟฟ้าช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของประจุแคตไอออนในดินได้ ทำให้พืชนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้น

           รายงาน :  สถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน 
           ภาพ :  สถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน 
ชมห้องภาพ

รายการก่อนหน้ารายการหลัก •: รายการถัดไป