กรมพัฒนาที่ดิน ขานรับนโยบายจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธรรมนัส ผลิตน้ำหมักชีวภาพคุณภาพสูงจาก ปลาหมอสีคางดำ ใช้ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ผัก ไม้ผลเศรษฐกิจในแม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเพชรบุรี
วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2567
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 สถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสาคร สถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสงคราม และสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี
กรมพัฒนาที่ดิน รณรงค์ทำน้ำหมักชีวภาพคุณภาพสูงจากปลาหมอสีคางดำ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ทำการเกษตร บูรณาการหน่วยงานในกระทรวงเกษตรฯ แก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอสีคางดำ ปกป้องสัตว์น้ำเศรษฐกิจพื้นถิ่น และรักษาระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่นยืน
นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบันได้มีการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้การนำของ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดิน นำนวัตกรรมจากผลิตภัณฑ์สารเร่งจุลินทรีย์ มาใช้ประโยชน์ ในการร่วมแก้ไขปัญหาจากการจับปลาหมอสีคางดำที่มีจำนวนมากนำมาเป็นวัสดุสำคัญเพื่อใช้ผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพผสมกับผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีนและไขมันของซากสัตว์ ทำให้สามารถผลิตน้ำหมักชีวภาพในระยะเวลารวดเร็วและได้คุณภาพ ซึ่งน้ำหมักชีวภาพจากปลามีแหล่งอาหารที่สำคัญต่อจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และธาตุอาหารรวมทั้งฮอร์โมนช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถช่วยลดจำนวนปลาหมอสีคางดำ
ที่ก่อปัญหาต่อระบบนิเวศในแหล่งน้ำ ปกป้องสัตว์น้ำเศรษฐกิจพื้นถิ่น และรักษาระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่นยืนต่อไป
โดยสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 สถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสาคร สถานีพัฒนาที่ดินสมุทรสงครามและสถานีพัฒนาที่ดินเพชรบุรี จึงจัดการรณรงค์การทำน้ำหมักชีวภาพคุณภาพสูง (สูตรไนโตรเจนสูง) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ วัดบ้านโคก หมู่ที่ 2 ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีการทำน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอสีคางดำ และเป็นการควบคุมกำจัดปลาหมอสีคางดำ เพื่อสร้างความสมดุลของระบบนิเวศในแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งจากการศึกษาของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่า น้ำหมักชีวภาพจากปลา มีไนโตรเจน 0.98 % ฟอสฟอรัส 1.12% โพแทสเซียม 1.03 % แคลเซียม 1.66 % แมกนีเซียม 0.24 % และกำมะถัน 0.20 % นอกจากนี้มีกรดอินทรีย์ และสารฮอร์โมนต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สำหรับสูตรการผลิตให้นำปลาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เทผสมลงในถังน้ำหมักที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล 10 กิโลกรัม น้ำ 10 ลิตร และผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) นำมาคนให้เข้ากัน ปิดฝาไม่ต้องสนิท และตั้งไว้ในที่ร่ม ในระหว่างการหมักจะพบเห็นฝ้าขาวซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวหน้าของวัสดุหมัก ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมีกลิ่นแอลกอฮอล์ จึงจำเป็นต้องคนน้ำหมัก ทุกๆ 23 ครั้งต่อวัน เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดียิ่งขึ้น โดยหมักไว้ประมาณ 2530 วัน ซึ่งการพิจารณาว่าน้ำหมักชีวภาพจะพร้อมใช้งาน สามารถสังเกตได้จากคราบเชื้อฝ้าขาวที่พบลดลง ไม่พบฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง และความเป็น
กรดเป็นด่าง (pH) เฉลี่ย 3.5 โดยวิธีการใช้เพียงแค่นำน้ำหมักชีวภาพจากปลา 1 ลิตร ผสมกับน้ำ 100150 ลิตร ฉีดพ่นกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้กับเกษตรกรได้
รายงาน : กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ภาพ : กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ชมห้องภาพ
ก่อนหน้า : รายการหลัก : ถัดไป