สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 ฝึกอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2563


วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563
ศูนย์ประชุมสตาร์เวลล์ บาหลี จังหวัดนครราชสีมา

           วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2563 สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 จัดโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2563 ระหว่างวันที่ 4 – 5 มีนาคม 2563 ณ ศูนย์ประชุมสตาร์เวลล์ บาหลี จังหวัดนครราชสีมา โดย นายศรจิตร ศรีณรงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 พร้อมด้วย น.ส.เสาวนีย์ประจันศรี รักษาการในตำแหน่งผู้เชียวชาญด้านวางระบบการพัฒนาที่ดิน นายจักรพันธ์ เภาสระคู ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการเพื่อการพัฒนาที่ดิน ผอ.กลุ่มวางแผนการใช้ที่ดิน ผอ.กลุ่มวิเคราะห์ดิน ผอ.กลุ่มสำรวจเพื่อทำแผนที่ ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินนครราชสีมา/ชัยภูมิ/บุรีรัมย์/สุรินทร์ นำนักวิชาการในสังกัดสร้างกระบวนการกลุ่มและร่วมกันถอดบทเรียนหมอดินอาสา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างเครือข่ายหมอดินอาสาสาขาวิชาการต่างๆ 2. เรียนรู้การใช้ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมพัฒนาที่ดิน 3. ถอดบทเรียน เพื่อพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หมอดินถามตอบ 4. สร้างองค์ความรู้ที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในพื้นที่ การอบรมครั้งนี้ประกอบด้วยหมอดินอาสา จำนวน 500 คน จากจังหวัดนครราชสีมา 410 คน จังหวัดชัยภูมิ 30 คน จังหวัดบุรีรัมย์ 30 คน และจังหวัดสุรินทร์ 30 คน การอบรมกำหนดระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 4 – 5 มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยการอบรมวันแรกจะเป็นการทบทวนความรู้และบทบาทหน้าที่ของหมอดินอาสา เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกรมพัฒนาที่ดิน จากถังความรู้หมอดินอาสา (Knowledge tank) เรียนรู้ Chatbot คุยกับหมอดิน การสร้างกระบวนการกลุ่มและถอดบทเรียน จำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่ การทดแทน 3 สารเคมีทางการเกษตร, การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์, เกษตรอินทรีย์, การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมตามแผนที่เกษตรเชิงรุก, เกษตรปลอดภัย, การบริหารจัดการภัยแล้งในพื้นที่, การบริหารจัดการในพื้นที่ดินเค็ม, การบริหารจัดการในพื้นที่ดินทราย, การบริหารจัดการในพื้นที่ดินดาน และธนาคารน้ำใต้ดิน ส่วนวันที่สองเป็นการนำเสนอสรุปบทเรียน แนวทางการใช้ประโยชน์จากความรู้ที่ได้รับ และสร้างเครือข่ายโดยตัวแทนหมอดินอาสาแต่ละกลุ่ม จากการอบรมครั้งนี้ สพข.3 จะสามารถสร้างเครือข่ายหมอดินอาสาสาขาวิชาการต่างๆ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่และแนะนำเกษตรกรในพื้นที่ ได้บทเรียนเพื่อพัฒนาปัญญาประดิษฐ์หมอดินถามตอบ ได้แบบจำลองหรือถอดบทเรียนองค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในแต่ละพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ เพื่อเป็นต้นแบบบนพื้นที่เกษตรกรรม ถ่ายทอดสู่เกษตรกรในหมู่บ้านเดียวกัน และเผยแพร่ขยายผลไปยังเกษตรกรรายอื่นๆ ทั่วประเทศต่อไป

           รายงาน :  สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 กรมพัฒนาที่ดิน 
           ภาพ :  สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 กรมพัฒนาที่ดิน 
ชมห้องภาพ

ก่อนหน้ารายการหลัก •: ถัดไป