ทางด้าน ดร.สถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ปอเทืองแก่กลุ่มเกษตรกรตำบลคลองหินปูน ตั้งแต่ปี 2559 หมอดินอาสาประจำตำบลได้เริ่มปลูกปอเทืองเพื่อขายเมล็ดพันธุ์คืนให้กับสถานีพัฒนาที่ดินสระแก้ว โดยได้นำไปปลูกหลังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ช่วงเดือนสิงหาคม จำนวน 40 ไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ คิดเป็นกำไร ไร่ละ 4,700 บาท/ไร่ (จากต้นทุนการผลิต 1,300 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 300 กก. ขาย กก.ละ 20 บาท คิดเป็นเงิน 6,000 บาท) ต่อมาในปี 2561 มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 ราย รวมพื้นที่ 100 ไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และเมื่อถึงฤดูการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สภาพดินมีคุณภาพดีขึ้น สามารถลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจาก 50 กก./ไร่ เหลือเพียง 25 กก./ไร่ ได้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 800 กก./ไร่ เป็น 1,000 กก./ไร่ ส่งผลดีต่อเกษตรกรทั้งด้านการเพิ่มผลผลิต ลดรายจ่ายด้านต้นทุนการผลิต มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สุขภาพดี และสิ่งแวดล้อมดีขึ้นตามมาด้วย ">
           ทางด้าน ดร.สถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ปอเทืองแก่กลุ่มเกษตรกรตำบลคลองหินปูน ตั้งแต่ปี 2559 หมอดินอาสาประจำตำบลได้เริ่มปลูกปอเทืองเพื่อขายเมล็ดพันธุ์คืนให้กับสถานีพัฒนาที่ดินสระแก้ว โดยได้นำไปปลูกหลังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ช่วงเดือนสิงหาคม จำนวน 40 ไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ คิดเป็นกำไร ไร่ละ 4,700 บาท/ไร่ (จากต้นทุนการผลิต 1,300 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 300 กก. ขาย กก.ละ 20 บาท คิดเป็นเงิน 6,000 บาท) ต่อมาในปี 2561 มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 ราย รวมพื้นที่ 100 ไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และเมื่อถึงฤดูการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สภาพดินมีคุณภาพดีขึ้น สามารถลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจาก 50 กก./ไร่ เหลือเพียง 25 กก./ไร่ ได้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 800 กก./ไร่ เป็น 1,000 กก./ไร่ ส่งผลดีต่อเกษตรกรทั้งด้านการเพิ่มผลผลิต ลดรายจ่ายด้านต้นทุนการผลิต มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สุขภาพดี และสิ่งแวดล้อมดีขึ้นตามมาด้วย ">
           ทางด้าน ดร.สถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ปอเทืองแก่กลุ่มเกษตรกรตำบลคลองหินปูน ตั้งแต่ปี 2559 หมอดินอาสาประจำตำบลได้เริ่มปลูกปอเทืองเพื่อขายเมล็ดพันธุ์คืนให้กับสถานีพัฒนาที่ดินสระแก้ว โดยได้นำไปปลูกหลังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ช่วงเดือนสิงหาคม จำนวน 40 ไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ คิดเป็นกำไร ไร่ละ 4,700 บาท/ไร่ (จากต้นทุนการผลิต 1,300 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 300 กก. ขาย กก.ละ 20 บาท คิดเป็นเงิน 6,000 บาท) ต่อมาในปี 2561 มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 ราย รวมพื้นที่ 100 ไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และเมื่อถึงฤดูการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สภาพดินมีคุณภาพดีขึ้น สามารถลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจาก 50 กก./ไร่ เหลือเพียง 25 กก./ไร่ ได้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 800 กก./ไร่ เป็น 1,000 กก./ไร่ ส่งผลดีต่อเกษตรกรทั้งด้านการเพิ่มผลผลิต ลดรายจ่ายด้านต้นทุนการผลิต มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สุขภาพดี และสิ่งแวดล้อมดีขึ้นตามมาด้วย ">

ร่วมคณะ รมช.ธรรมนัส ตรวจเยี่ยมและมอบหนังสืออนุญาต (ส.ป.ก. 4-01) ให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระแก้ว


วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
จังหวัดสระแก้ว

           วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ดร.สถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านวิชาการ ร่วมคณะร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกร ณ แปลง คทช. คลองหินปูน No.421 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว พร้อมมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) ให้กับเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัดสระแก้ว ประกอบด้วย เกษตรกรอำเภอวังน้ำเย็น และเกษตรกรอำเภอวัฒนานคร จำนวน 150 ราย พร้อมมอบบัตรดินดีให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ คทช. จำนวน 20 ราย มอบต้นมะม่วงพันธุ์ดีให้กับเกษตรกรแปลง คทช. จำนวน 10 ราย กล่าวพบปะเกษตรกร เยี่ยมชมแปลงพื้นที่ No.421 และร่วมหว่านเมล็ดพันธุ์ปอเทืองเพื่อปรับปรุงบำรุงดินในแปลงเกษตรกรส่วนรวม จำนวน 5 ไร่

           จากนั้น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางต่อไปยังหอประชุมที่ว่าการอำเภอวังสมบูรณ์ เพื่อติดตามงาน และรับฟังปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องพื้นที่ทำกินในเขตป่าไม้ถาวร ถนน 317 ถนนสระแก้ว-จันทบุรี อำเภอวังสมบูรณ์ ปัญหาของชาวสวนลำไย ในเรื่องการรับรองมาตรฐาน GAP ของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งแก้ปัญหาด้วยการให้เกษตรจังหวัดประสานกับกรมวิชาการเกษตร ออกหนังสือรับรอง GAP ภายในเดือนหน้า และสำหรับเกษตรกรชาวสวนลำไยที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เซ็นรับรองให้ เพื่อรับรองมาตรฐาน GAP กับกรมวิชาการเกษตร และเรื่องแรงงานในสวนลำไย หลังจากนั้นพบปะเกษตรกรในพื้นที่ สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้มีส่วนราชการทุกภาคส่วน และเกษตรให้การต้อนรับเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุมอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว

           ร้อยเอก ธรรมนัส ยังได้กล่าวทิ้งท้ายว่า .. "เป้าหมาย คือ ยกเลิก จำแนกที่ดินออกจากพื้นที่ป่าไม้ถาวร โดยต้องร่วมหารือกับทุกภาคส่วน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 นี้"

           ทางด้าน ดร.สถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า กรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ปอเทืองแก่กลุ่มเกษตรกรตำบลคลองหินปูน ตั้งแต่ปี 2559 หมอดินอาสาประจำตำบลได้เริ่มปลูกปอเทืองเพื่อขายเมล็ดพันธุ์คืนให้กับสถานีพัฒนาที่ดินสระแก้ว โดยได้นำไปปลูกหลังการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ช่วงเดือนสิงหาคม จำนวน 40 ไร่ ทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการขายเมล็ดพันธุ์ คิดเป็นกำไร ไร่ละ 4,700 บาท/ไร่ (จากต้นทุนการผลิต 1,300 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 300 กก. ขาย กก.ละ 20 บาท คิดเป็นเงิน 6,000 บาท) ต่อมาในปี 2561 มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 10 ราย รวมพื้นที่ 100 ไร่ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และเมื่อถึงฤดูการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สภาพดินมีคุณภาพดีขึ้น สามารถลดต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจาก 50 กก./ไร่ เหลือเพียง 25 กก./ไร่ ได้ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นจาก 800 กก./ไร่ เป็น 1,000 กก./ไร่ ส่งผลดีต่อเกษตรกรทั้งด้านการเพิ่มผลผลิต ลดรายจ่ายด้านต้นทุนการผลิต มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สุขภาพดี และสิ่งแวดล้อมดีขึ้นตามมาด้วย

           รายงาน :  กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมพัฒนาที่ดิน 
           ภาพ :  กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมพัฒนาที่ดิน 
ชมห้องภาพ

ก่อนหน้ารายการหลัก •: ถัดไป