อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน มอบแนวทางการดำเนินงานของกรมพัฒนาที่ดิน ในงานประชุมวิชาการกรมพัฒนาที่ดิน ปี 2562 “ฟื้นฟูปฐพี ด้วยเทคโนโลยีพัฒนาที่ดิน”


วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562
โรงแรมเดอะ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

           วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.45 น. นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ประธานจัดการประชุมวิชาการกรมพัฒนาที่ดิน ปี 2562 โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 -20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมเดอะ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

           ได้มอบแนวทางการดำเนินงานของกรมพัฒนาที่ดินให้กับผู้เข้าร่วมประชุม กล่าวคือ ... “การจัดการประชุมวิชาการ ถือว่าเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักวิชาการได้ขับเคลื่อนงานวิชาการของกรมพัฒนาที่ดิน โดยการทำกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ สัมพันธภาพ เมื่อวานนี้ (18 ส.ค. 62) ที่มีการแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ซึ่งให้ความสำคัญในการแบ่งกลุ่ม โดยกลุ่มเหล่านี้จะช่วยกันขับเคลื่อนงานวิชาการของกรมพัฒนาที่ดินไม่ว่าจะเป็นวันสถาปนากรมฯ วันดินโลก ซึ่งจะเป็นเครือข่ายในการร่วมกันทำงาน การประชุมวิชาการครั้งนี้แตกต่างจากปีก่อนๆ โดยมี ดร.สถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านวิชาการ เป็นแม่งานหลัก ซึ่งมีการทำกิจกรรม Side Events และปรับเปลี่ยนการจัดโปสเตอร์ เดินหน้าเรื่องการบริหารจัดการดินได้อย่างไร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับเรื่องของวิชาการที่ผ่านมาทุกคนรอคอยว่าจะถูกเลือกมานำเสนอผลงานหรือเปล่า เปลี่ยนวิธีการนำเสนอดาวเด่น โดยมีการนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับฟัง พวกเราต้องคิดค้นนวัตกรรมแล้วนำเสนอกับผู้บริหารกรมฯ เพื่อนำเสนอในเวทีต่างๆ เกณฑ์การพิจารณาปีนี้ปรับวิธีการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ ทุกคนสามารถสมัครได้ ต้องมีการเตรียมงานวิจัย การนำเสนอผลงาน และบุคลิกภาพเพื่อขึ้นสู่ตำแหน่ง การนำเสนองานวิจัย ต้องผ่านผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการสำนัก ต้องให้ความเห็นชอบก่อน และผลงานวิจัยต้องตามตอบโจทย์ประเทศด้วย ผลงานวิชาการต้องมีการนำไปต่อยอดเป็นประโยชน์ต่อสำนักงานได้ด้วย”

           อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวต่ออีกว่า .. “ขอชื่นชมบอร์ดกระดานดำในการนำเสนอทั้ง 10 บอร์ด โดยต้องมีการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละกอง/สำนัก ไปศึกษาบอร์ดกระดานดำ จำนวน 10 บอร์ด การสอบวิสัยทัศน์ ต้องสอบถามเรื่องบอร์ดกระดานดำว่าเข้าใจและทราบวัตถุประสงค์ของบอร์ดกระดานดำหรือไม่ การคิดวิเคราะห์และถ่ายทอดลงบอร์ดกระดานดำเรื่องต่างๆ ที่สอนน้องๆ สอนแล้วให้น้องคิดวิเคราะห์และนำไปประยุกต์ได้ ให้ช่วยกันรวมหมอดินเป็นกลุ่มและช่วยกันถอดบทเรียนให้คิดวิเคราะห์เองในการเดินหน้าหมอดินสู่เกษตรกรได้อย่างไร ทิศทางการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ ต้องตอบโจทย์พื้นที่ ทำเสร็จแล้วใครได้ประโยชน์ กองแผนงานต้องระบุกรอบการเขียนโครงการ ความถูกต้อง แม่นยำ ใช้ประโยชน์ได้จริงไหม สามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไร สุดท้ายตอบอะไรได้บ้างและนำไปใช้ได้อย่างไรต้องสามารถสกัดได้ เรามีกระบวนการของข้อมูลที่ดี แต่ยังขาดกระบวนการถ่ายทอดที่มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์กับสถานการณ์ปัจจุบัน เกิดปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง สินค้าออกมาไม่มีคุณภาพ ขายไม่ได้ โดยต้องมีการเปิดโลกทัศน์ของตนเอง เวลาจัดนิทรรศการต้องศึกษาบอร์ดทุกบอร์ดว่าเป็น theme อะไรบ้าง อยากให้มีการปรับเรื่องการนำเสนอ เช่น นำเสนอดินในจังหวัด การใช้ที่ดินในจังหวัดมีทิศทางอย่างไร กรมพัฒนาที่ดินมีโครงการสนับสนุนอะไรบ้าง ฝากผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดิน จะต้องทราบข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดทุกคน จะเก็บในโทรศัพท์หรือกระดาษก็ได้ และหากขาดบุคลากรให้ทำการประสานกับเขตข้างเคียง ช่วยกันแลกเปลี่ยนความรู้ตามความถนัดในเรื่องต่างๆ ในรูปแบบการจับกลุ่มแต่ละกลุ่ม เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนงานของกรมฯ และที่สำคัญคือกรมฯ จะเดินหน้าต่อไปได้ด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดิน ผู้อำนวยการกอง/ สำนัก ผู้อำนวยกลุ่ม ช่วยกันขับเคลื่อนงานของกรมพัฒนาที่ดิน”

           นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเรื่องต่อไปนี้
           1) Agri-Map ของกรมพัฒนาที่ดิน ทุกคนต้องใช้ Agri-Map ให้เป็น และจะใช้ Agri-Map ในการทำงานได้อย่างไร ใช้ทำเรื่องอะไรเกษตร
           2) Smart Agriculture เราต้องทำน้อยได้มาก ทำเกษตรแปลงใหญ่ 1 แสน 1 ไร่ ให้ถอดบทเรียน ดินต้องดีก่อนถึงจะสามารถทำได้ และต้องมีวิธีการทำให้ทุกคนรับรู้ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการถ่ายทอด
           3) การนำปัจจัยการผลิตไปให้เกษตรกรต้องแจกเป็นกลุ่มเพื่อให้มีการกระจายออกไป ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานใหม่ ให้หมอดินอาสาทำงานแทนเรา ต่อไปถ้าหมอดินอาสา มีค่าตอบแทนจะให้ทำอะไร เมื่อมีค่าตอบแทนจะต้องมีชิ้นงาน ต้องดูแลหมอดินอาสา ไม่ทอดทิ้งหมอดินอาสา
           4) แผนการใช้ที่ดินระดับตำบล เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของกรมพัฒนาที่ดิน โดยแผนตำบลมีการร่วมจัดทำกับพื้นที่ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินต้องนำเสนอให้เกิดการยอมรับใช้แผนระดับตำบล
           5) บัตรดินดี เป็นประตูที่เกษตรกรจะเข้ามากรมพัฒนาที่ดิน ด้วย QR Code ให้ดูข้อมูลของตนเองให้เกษตรกร สามารถเข้าถึงข้อมูลดินของตนเอง และมีสิทธิพิเศษในเรื่องการบริหารจัดการดิน

           ซึ่งบทบาทหลังบ้านคือส่วนกลางทั้งหมด และ ผอ.ศทส. นำคำถามที่เกษตรกรถามให้ตั้งเป็นประเด็นคำถามจะใช้ AI ในการตอบคำถาม การสร้างนวัตกรรมให้คอมพิวเตอร์ตอบแทนเรา และจะมีการติดตามการมอบบัตรดินดีให้กับเกษตรกรถูกคนหรือเปล่า มีการทำงานมากน้อยแค่ไหน สุดท้าย เรื่องนวัตกรรมทุกสำนักจะต้องมีนวัตกรรมของตนเอง

           รายงาน :  กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมพัฒนาที่ดิน 
           ภาพ :  กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมพัฒนาที่ดิน 
ชมห้องภาพ

ก่อนหน้ารายการหลัก •: ถัดไป