สารคดีที่ 4 /2550
ประกิต เพ็งวิชัย รายงาน

                  ประชาชนส่วนมากในประเทศไทย ประกอบอาชีพการเกษตรกรรม เป็นรากฐานของ สังคมไทยมาช้านาน แต่เกษตรกรมักประสบปัญหาในการผลิต เช่น การขาดความรู้และเทคโนโลยี ขาดแคลนเงินทุนเพื่อการบริหารจัดการ รวมทั้งการประสบภัยธรรมชาติในฤดูกาลต่างๆ แต่ใน ขณะเดียวกัน ยังมีเกษตรกรท่านหนึ่ง ที่เอาใจใส่ต่อการปรับปรุง พัฒนาอาชีพการเกษตรของตนเอง ทำให้เกิดความสำเร็จ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นแบบอย่าง และมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์แก่สังคม
ท่านคือ คุณลุงประยงค์ ใจเป็น เกษตรกรดีเด่น ด้านการปศุสัตว์ผสมผสาน จากจังหวัดอุดรธานี จึง ได้นำเอาประวัติ และผลงานการพัฒนาของเกษตรกรท่านนี้ มาบรรยายให้ทุกท่านได้ทราบพอสังเขป

                  คุณลุงประยงค์ ใจเป็น เกิดในครอบครัวเกษตรกร ในปี พ.ศ.2486 เมื่อจบการศึกษา ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ช่วยครอบครัวประกอบอาชีพทำนา แต่ประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ จึง ได้เข้าบวชในพุทธศาสนา ภายหลังจากนั้น สมรสกับนางบานเย็น ใจเป็น ร่วมกันประกอบอาชีพ แม้ จะขยันและประหยัด แต่เนื่องจากมีลูกถึง 7 คน จะต้องดิ้นรน ประกอบอาชีพอย่างมาก ต้องขอความ ช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน แต่ไม่ได้รับความช่วยเหลือที่ดีนัก ดังนั้น จึงตั้งใจเปลี่ยนแปลงชีวิต ครั้งยิ่งใหญ่ ในวันที่ 11 สิงหาคม 2517 เลิกดื่มเหล้า เลิกสูบบุหรี่ และตั้งปณิธานกับตนเองว่า ตนจะเป็นที่พึ่งของ ตนเอง โดยได้หันมาเลี้ยงไก่พื้นเมือง เป็ด ปลูกพืชผักทุกชนิดที่กินได้ และกินทุกอย่างที่ตนเองปลูก ต่อมา สัตว์และพืชที่ปลูกไว้ มีคนมาขอซื้อ ทำให้เกิดกำลังใจ และเห็นช่องทางการพัฒนาไปสู่การทำเป็น อาชีพ

                  คุณลุงประยงค์ เล่าว่าการเริ่มต้นพบกับความไม่ประสบความสำเร็จ โดยปี 2515 ได้ซื้อสุกรมา เลี้ยง เพื่อกินเศษอาหารในครอบครัว และเป็นการเก็บสะสมเงิน แต่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง เพราะ ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน จำเป็นต้องขายสุกรและเลิกการเลี้ยงสุกร ต่อมาปี 2533 ได้ทดลองเลี้ยงเป็ดไข่ 900 ตัว พบปัญหาการขาดเงินทุนหมุนเวียนอีกเช่นเคย ไม่มีเงินซื้ออาหาร ทำให้เป็ดแคระแกลน และตาย คงเหลือเป็ดจำนวน 700 ตัว แก้ปัญหาโดยนำเป็ดไปแลกกับสุกรของเพื่อน จำนวน 3 ตัว และลูกสุกร 8 ตัว ไม่มีเงินทุนสร้างโรงเรือน ต้องผูกเลี้ยงแม่สุกรไว้ใต้ต้นไม้ พอมีเงินจากการเลี้ยงสุกรขึ้นมาบ้าง จึงไป
ซื้อโคพันธุ์พื้นเมืองมาเลี้ยง 17 ตัว จำหน่ายได้กำไรอย่างมาก แต่นำไปซื้อแม่โคพันธุ์ฮินดูบราซิลมา เลี้ยง แต่ต้องจำหน่ายขาดทุน ได้เงินเพียง 35,000 บาท ภายหลังจากนั้น ได้ไขว่คว้าหาความรู้ โดยไป เข้ารับการฝึกอบรม จากหน่วยงานของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ แล้วหันกลับมาปรับปรุงการเลี้ยงไก่ พื้นเมือง สุกร และทำปุ๋ยอินทรีย์ ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา

                  คุณลุงประยงค์ ใจเป็น ดำเนินการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปรับปรุงพื้นที่เลี้ยงสัตว์ ควบคู่ไปกับการ ปลูกพืช เลี้ยงปลา แบบผสมผสาน เป็นกิจกรรมหลัก โดยในปัจจุบัน ปลูกพืชผัก ทำนา ในพื้นที่ 20 ไร่ เลี้ยงสุกร 62 ตัว ไก่พื้นเมือง 230 ตัว เลี้ยงปลา 75,000 ตัว โดยได้ใช้ผลพลอยได้จากกิจกรรมต่างๆ และภูมิปัญญาชาวบ้าน ดำเนินการเป็นกิจกรรมรอง และสัมพันธ์เกื้อกูลกัน เช่น การใช้สมุนไพร ใน การถ่ายพยาธิ และจัดการสุขภาพไก่พื้นเมือง และสุกร การใช้ผลพลอยได้ในฟาร์มมาหมักเป็นสารสกัด
ชีวภาพ เพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์ และการทำปุ๋ยปลูกพืช การใช้แกลบ ฟางข้าว และใบไม้ เติมลงในบ่อ มูลสุกรเพื่อลดมลภาวะจากกลิ่น แล้วตักขึ้นมาตากแห้งผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ นอกจากนี้ ยังทำการ พัฒนาที่ดินจากทุ่งนาเป็นสวน และป่าไม้ เพื่อรักษา ความสมดุลย์ของดินและน้ำ

                  ในกิจกรรมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จะเน้นการเพาะพันธุ์เพื่อคัดเลือกเป็นไก่ชน เพราะมีความรู้ใน การเลี้ยงมาตั้งแต่ยัง เป็นเด็ก มีความรักไก่ชน และยังขายได้ราคาดี ไก่พื้นเมืองที่คัดทิ้งจะจำหน่ายเป็น ไก่เนื้อเพื่อบริโภค
                  การเลี้ยงสุกร ได้ปรับปรุงการเลี้ยงในปี 2541 เริ่มต้นจากจำนวน 3 แม่ ซึ่งเดิมจะใช้น้ำปลา ร้าต้มผสมอาหาร จะทำให้สุกรกินอาหารได้มาก ภายหลังใช้น้ำหมักหอยเชอรี่แทน นอกจากนี้ ยังได้ ทดลองนำวัตถุดิบในพื้นที่ และทำปลาป่นเอง นำมาเป็นส่วนประกอบผสมอาหารเลี้ยงสุกร เพื่อลด ต้นทุนค่าอาหารสุกร

                  การทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้วัสดุเหลือจากฟาร์มหมู และปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ผลิตปุ๋ยใช้เอง ร่วมกับวิชาการ จากกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นการลดต้นทุน บำรุงดินโดยธรรมชาติ การทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ และน้ำหมัก ชีวภาพ คุณลุงประยงค์ ใจเป็น ได้นำเอาความรู้เกี่ยวกับ การใช้สารสกัดชีวภาพ ที่ได้รับจากการฝึกอบรม มาทำเพื่อทดลองใช้เอง ซึ่งในช่วงแรก ทำเพื่อแก้ไขปัญหา มลภาวะจากกลิ่น ในการเลี้ยงสุกร และนำมา ตากแห้งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในการทำนาและปลูกพืชผักของตนเอง แต่ภายหลังสามารถแก้ไขปัญหาได้และ มีผลผลผิตดีขึ้น เพื่อนบ้านจึงมาขอซื้อปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้ ในปี 2548 สามารถจำหน่าย ปุ๋ยอินทรีย์ได้กว่า 78,000 กิโลกรัม

                  การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้านสมุนไพร คุณลุงประยงค์ ใจเป็น และทุกคนในครอบครัว ได้รับการสืบทอดความรู้เรื่อง สมุนไพรในการบำรุงสุขภาพ และรักษาโรคจากคุณพ่อของนายประยงค์ โดยจะใช้ น้ำมันยาง สะแบง ชาด เป็นยาบำรุงสุขภาพ กำจัดพยาธิภายในของสัตว์ รักษาแผล นอกจากนี้ จะใช้ ไพร ข่า ขิง เอี้ยง อะราง สะแก บอระเพชร ซึ่งเป็นยาบำรุงสุขภาพและรักษา
โรคในคน มาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และสุกร โดยนำมาใช้ในรูปยาหม้อ หรือน้ำหมักชีวภาพ การใช้ความรู้เทคโนโลย ีที่ทันสมัย ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เหมาะสม และแนวคิดที่ดี นำมา ดำเนินงานพัฒนาฟาร์มอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างดี ทำให้นายประยงค์ ใจเป็น มุ่ง พัฒนา การผลิตในฟาร์ม ให้เป็นระบบการผลิตปศุสัตว์และเกษตรอินทรีย์ โดยเลิกใช้สารเคมีในการ
ปลูกพืช ตั้งแต่ ปี 2531 และไม่ใช้ยารักษาโรคสัตว์ ในปี 2547

                  จากการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับการลงทุน และรายได้ของฟาร์ม พบว่า มีรายรับจากกิจกรรม ทั้งหมด 301,840 บาท ซึ่งต้องหักเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว 59,815 บาท ค่าลงทุนการผลิต 126,390 บาท ทำให้มีรายได้สุทธิจากฟาร์ม 115,635 บาท ซึ่งผลจากการบริหารจัดการของฟาร์มที่ดี ทำให้นาย ประยงค์ ใจเป็น และครอบครัว มีรายได้ที่ดี มีอาชีพที่มั่นคง และทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีมาจนถึงปัจจุบัน

                  คุณลุงประยงค์ ใจเป็น เป็นผู้ที่ตื่นตัว ขยันหมั่นเพียร โดยได้นำเอาความรู้ที่ได้รับจากการ ฝึกอบรม และการเรียนรู้ด้วยตนเองจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้ ทำให้ประสบความสำเร็จในการ ประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์และการเกษตร จึงทำให้เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ และเข้ามีส่วนร่วม ในการพัฒนาชุมชนในบทบาทต่างๆ ด้านการพัฒนาอาชีพการเกษตร ได้เข้าเป็นคณะกรรมการบริหาร และเป็นเกษตรกรวิทยากร ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเชียงยืน
เป็นคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในชุมชน เป็นเจ้าของฟาร์มสาธิตถ่ายทอดความรู้ ให้แก่เพื่อนเกษตรกร ทั้งในชุมชน ของจังหวัดอุดรธานีและจังหวัดอื่นๆ จำนวนมาก และยังได้รับ รางวัลจากหน่วยงานราชการ อีกหลายครั้ง เช่น รางวัลชนะเลิศ การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนว พระราชดำริ ปี 2541 รางวัลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ดีเด่น ระดับจังหวัด และระดับเขต ปี 2545

                  จากประวัติ และผลงานของ คุณลุงประยงค์ ใจเป็น ซึ่งเป็นเกษตรกรที่เอาใจใส่ต่อการปรับปรุง พัฒนาอาชีพการเกษตรของตนเอง ทำให้เกิดความสำเร็จ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นแบบอย่าง และมีส่วน ร่วมในการทำประโยชน์แก่สังคม จึงเห็นสมควรมอบรางวัล เกษตรกรดีเด่น ด้านการปศุสัตว์ผสมผสาน ให้แก่ คุณลุงประยงค์ ใจเป็น หมอดินอาสาดีเด่นจากจังหวัดอุดรธานี เพื่อประกาศเกียรติคุณ ถึงผลงาน ที่มีคุณลุงประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพการพัฒนาที่ดินและเกษตรกรรม รวมทั้งการมีส่วนร่วมพัฒนา
สังคมเกษตรกรไทยให้เจริญสืบต่อไปในอนาคตอีกด้วย

นายประยงค์ ใจเป็น
บ้านเลขที่ 157/1 หมู่ที่ 5 บ้านหนองตอ ตำบลเชียงยืน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
เบอร์โทรศัพท์ 087-2226272
**************************************